Latest

แจ้งตารางกิจกรรมแค้มป์ทักษะชีวิตสำหรับเด็ก (Life Skill Camp)

    เนื่องจากวันเข้าแค้มป์ทักษะชีวิตสำหรับเด็ก (25 เมย. – 3 พค. 2563) ใกล้เข้ามาแล้ว ผมขอแจ้งรายละเอียดของโปรแกรมแค้มป์ให้คุณพ่อคุณแม่ของเด็กๆทราบดังนี้

วัตถุประสงค์

     มุ่งให้เด็กมีทักษะชีวิตที่แนะนำโดย WHO ซึ่งหมอสันต์ได้นำมาสรุปย่นย่อต่อเติมเป็นห้าทักษะหลัก ดังนี้
     1. Coping skill ทักษะการรับมือกับอารมณ์และความเครียดของตัวเอง การรับรู้ความรู้สึก การวางความคิด การมีสติ สมาธิ
     2. Interpersonal skill ทักษะการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ การรู้จักฟัง และการเข้าใจผู้อื่น
     3. Creativity ทักษะการคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
     4. Decision making skill ทักษะการคิดวินิจฉัยและตัดสินใจแก้ปัญหาวิกฤติเฉพาะหน้า
     5. Health skill ทักษะสุขภาพ การกิน การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด

ประสบการณ์เรียนรู้

     เด็กใช้ชีวิตอยู่กับทีมของตัวเอง ซึ่งแบ่งเป็น 5 ทีมๆละ 6 คน แต่ละทีมคละวัยกัน มีหัวหน้าทีมเป็นศูนย์กลาง เด็กสร้างกฎกติกาที่จะอยู่ร่วมกันเองและดูแลกันเอง แต่ละทีมมีครูพี่เลี้ยง ตัวครูพี่เลี้ยงมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น ไม่มีหน้าที่นำทีม ทุกทีมจะได้รับมอบหมายให้ทำโครงงาน (projects) เฉพาะของทีมตัวเอง 13 โครงงาน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาทำทุกวันที่อยู่ในแค้มป์ ดังนี้

     Project 1. Miyawaki Forest ปลูกป่ามิยาวากิ แต่ละทีมได้รับมอบหมายพื้นที่ให้ปลูกป่าด้วยวิธีของมิยาวากิ สมาชิกทีมต้องร่วมกันออกแบบวางแผนการปลูกป่า แบ่งพื้นที่รับผิดชอบเป็นรายคนและรายทีม โดยปลูกป่าเป็นคลัสเตอร์ ทีมละ 6 คลัสเตอร์ คนละ 1 คลัสเตอร์ แต่ละคลัสเตอร์ประกอบด้วยไม้สูง ไม้กลาง ไม้ต่ำ ไม้พุ่ม เถาวัลย์ อย่างละ 3 ต้น และไม้พี่เลี้ยง 1 ต้น รวมคลัสเตอร์ละ 16 ต้น ทีมละ 96 ต้น รวมทุกกลุ่ม 480 ต้น แล้วทำการห่มดิน (mulching)

     หลังจากจบแค้มป์แล้ว สมาชิกทุกคน(ที่มาได้)จะกลับมาชมป่า Miyawaki forest walk ในวันที่ 5 ธค. ของทุกปี เริ่มครั้งแรก 5 ธค. 63 เพื่อชื่นชม บันทึกภาพ ศึกษา บำรุงรักษา และเผยแพร่เรื่องราวของป่าที่ตัวเองปลูกขึ้น

     Project 2. Salad ทำสลัดตั้งแต่ต้นจนจบ ทุกทีมลงมือทำทุกอย่างในกระบวนการผลิตและกินสลัด ตั้งแต่ (1) เพาะเมล็ดในกะบะเพาะ (2) เลี้ยงดูต้นอ่อนในเนอร์สเซอรี่ (3) เตรียมแปลงปลูกของทีมตัวเอง (4) เอาต้นกล้าลงปลูกในแปลง (5) ดูแลผักในแปลง (6) เก็บผัก (7)  ทำน้ำสลัด (8) ทำสลัดมาโชว์ร่วมกัน แล้วกินสลัดของตัวเอง

     Project 3.  Capsela science project โครงงานวิทยาศาสตร์กับแคปซีล่า แต่ละทีมสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์ขึ้นมาหนึ่งโครงงานโดยใช้อุปกรณ์โครงงานของ Capsela ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีทั้งส่วนกลไก (mechanic) และไฟฟ้า (electric)

     Project4. From farm to plate จากฟาร์มถึงจาน แต่ละทีมทำการสำรวจพืชอาหารในฟาร์ม วางแผนทำอาหารมื้อเย็น แล้วเก็บเกี่ยวพืชอาหารสดในฟาร์มมาทำอาหารเย็นแบบอาหารสุขภาพด้วยทีมเองแล้วกินอาหารเย็นที่ทำเอง

     Project 5. Sprouting เพาะเมล็ดงอก ทุกคนเพาะเมล็ดงอกชนิดต่างๆของตัวเองในขวดโหลส่วนตัว เลี้ยงดู แล้วนำมาทำสลัดกินเอง

     Project6.  Star mapping งานสร้างแผนที่ดวงดาวซีกฟ้าเหนือเดือนเมษา แต่ละทีมสร้างแผนที่ดวงดาวซีกฟ้าเหนือเดือนเมษายนขึ้นมา จากการสำรวจท้องฟ้าโดยความช่วยเหลือของกล้องดูดาวและคำแนะนำของพี่พอ(ที่ปรึกษา)

     Project7. Recycling waste โครงการรีไซเคิล เป็นโครงการที่ทุกกลุ่มร่วมกันทำโดยทำตารางผลัดกันเข้าเวรปฏิบัติการในสองโครงการย่อยทุกวัน คือ (1) Kitchen waste recycling ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหาร (2) Tree leaves recycling ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากการหมักใบไม้ โดยจะมีการระดมทุกทีมมาร่วมทำการกองปุ๋ยครั้งใหญ๋หนึ่งครั้ง

     Project 8.  Clay community ชุมชนดินเหนียว แต่ละทีมทำงานสร้างสรรค์ชุมชนจำลองด้วยการปั้นดินเหนียวเซรามิก

     Project 9.  Paper housing  บ้านและชุมชนโมเดล แต่ละทีมทำงานสร้างสรรค์ชุมชนที่ประกอบด้วยบ้านโมเดลกระดาษที่ผลิตขึ้นมาจากการออกแบบ ตัด และระบายสีกระดาษชนิดต่างๆ

     Project 10.  Lunar calendar สร้างปฏิทินดวงจันทร์ แต่ละทีมสร้างปฏิทินดวงจันทร์ขึ้นมา หลังจากได้ศึกษาการหมุนของดวงจันทร์และสำรวจดวงจันทร์ด้วยกล้องดูดาว

    Project 11.  Excavation ขุดค้นทรากไดโนเสาร์ในบ่อขุดค้นจำลอง แต่ละทีมทำงานขุดค้นทรากไดโนเสาร์ แล้วนำกระดูกที่จุดค้นได้มาประกอบเป็นโมเดลโครงกระดูกไดโนเสาร์

    Project 12. Outdoor cooking ก่อไฟกลางแจ้ง เป็นโครงงานของแต่ละคน ทุกคนทำการก่อไฟของตัวเองในพื้นที่เปิดนอกสถานที่ เผามันเทศของตัวเอง และทำอาหารอื่นที่ตัวเองต้องการเช่นต้มหรือเผาไข่ บาร์บิคิวพืช เป็นต้น แล้วกินอาหารเย็นด้วยกันแบบแค้มปิ้ง

     Project 13. Scare craw ทำหุ่นไล่กาและตุ๊กตาผ้า แต่ละทีมสร้างสรรค์หุ่นไล่กาและหรือตุ๊กตาผ้าที่ช่วยกันออกแบบและประกอบขึ้น เพื่อประดับสนามในวันปิดแค้มป์

ตารางกิจกรรมประจำวัน

หมายเหตุ

1. การแบ่งมุม Play Station แบ่งเป็น 5 มุม
มุมที่ 1. Paper model house community สร้างหมู่บ้านด้วยบ้านโมเดลกระดาษ
มุมที่ 2. Clay house community สร้างชุมชนด้วยงานปั้นดินเหนียว
มุมที่ 3. Science with Capsela สร้างสรรค์โครงการวิทยาศาสตร์หลากหลายด้วยระบบแคปซีล่า
มุมที่ 4. Archaeology digging เป็นนักโบราณคดีขุดค้นซากไดโนเสาร์ แล้วนำกระดูกมาสร้างโมเดล
มุมที่ 5. Big jigsaws เกมต่อภาพจิ๊กซอว์ขนาดใหญ่ 
2. งานฟาร์ม (Farm activity) คือเวลารดน้ำ ดูแล บำรุงรักษา ถาดเพาะผัก แปลงปลูกผัก และกองปุ๋ยหมัก
3. แค้มป์นี้เป็น unplug camp ไม่ให้เด็กใช้โทรศัพท์มือถือ ยกเว้นช่วงที่อนุญาตให้ใช้เพื่อทำกิจกรรม
4. ผู้ปกครองเข้าพบเด็กระหว่างอยู่ในแค้มป์ไม่ได้ แต่ติดตามภาพกิจกรรมของเด็กได้ทางไลน์แค้มป์

สต๊าฟแค้มป์

พี่ออย (หัวหน้าแค้มป์)
พี่พอ (ที่ปรึกษาโครงงานวิทย์)
พี่อ้น (ที่ปรึกษาโครงงานฟาร์ม)
พี่แพรว. พี่แพร, พี่เฟิร์น, พี่เอ๋ย, พี่มิ้นท์ (พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม)
ปู่สันต์ (เพื่อนทำกิจกรรมยามเช้า)
ป้าโอ๋ (พยาบาลฉุกเฉิน)
ย่าวงศ์ (กุมารแพทย์)

การประเมินผล

ประเมินผลใน 5 ประเด็น
1. Coping skill,
2. Interpersonal skill,
3. Creativity,
4. Decision making skill,
5. Health skill

โดยหัวหน้าแค้มป์และครูพี่เลี้ยงเป็นผู้ประเมินตามแบบที่กำหนด รายงานประเมินผลส่งให้ผู้ปกครองโดยตรง

วิธีลงทะเบียนเข้าแค้มป์ถัดไป

     เนื่องจากแค้มป์ของปีนี้เต็มแล้ว แค้มป์ถัดไปต้องรอปีพ.ศ. 2564 ซึ่งยังไม่ได้กำหนดวัน ท่านผู้ปกครองที่สนใจจะให้เด็กได้เข้าแค้มป์ถัดไปกรุณาติดตามข่าวทางบล็อกนี้ หรือสอบถามทางโทรศัพท์กับคุณเฟิร์น ที่หมายเลข 063 639 4003 หรือไลน์ @wellnesswecare หรืออีเมล host@wellnesswecare.com

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

………………………………………………………………