Tag: หัวใจขาดเลือด

Latest

ไตรกลีเซอไรด์สูงทั้งบ้าน

ดิฉันเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง เจาะเลือดครั้งสุดท้ายได้ 400 พี่สองคนเป็นไตรกลีเซอไรด์สูงทั้งคู่ คุณแม่เสียชีวิตเมื่ออายุ 57 ปี ด้วยโรคหัวใจขาดเลือด ดิฉันไปหาหมอ ได้ยาโลปิดมาทาน ไตรกลีเซอไรด์ลดเหลือ 150 แต่ว่ามีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก ลองหยุดยาดูไตรกลีเซอไรก็ขึ้นไปสี่ร้อยอีก อยากถามว่ายาโลปิดเป็นสิ่งจำเป็นไหม ทานนานๆมีอันตรายไหม มีทางเลือกอื่นอะไรบ้าง และดิฉันจะเสียชีวิตเร็วเหมือนคุณแม่ไหม สงวนนาม) ตอบครับ

อ่านต่อ
Latest

เป็นความดันแล้วไงต่อ

ไปพบคุณหมอ..ที่รพ. (สงวนนาม) คุณหมอแนะนำว่าให้ทำการตรวจความดันอย่างจริงจังกับหมอผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเพราะว่าทุกครั้งที่ได้พบแพทย์นั้นความดันไม่ลดลงเลยถึงแม้จะได้ทำการพักก่อนทำการตรวจ ความดันจะอยู่ที่ประมาณ 130-150 คุณหมอจึงแนะนำให้มาตรวจ ซึ่งพักหลังมีการเจ็บที่หน้าอกด้วย กลัวจะมีโรคอื่นร่วมด้วยเพราะคุณหมอบอกว่าถ้าเป็นความดันจะพาโรคอื่นมาด้วย จึงเรียนถามว่า เป็นความดันแล้วเป็นอะไรได้บ้าง จะไปตรวจต้องนัดหมออย่างไรและอัตราค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร ตอบ 1. ความดันเลือดสูง นำมาซึ่งโรคหลอดเลือดของสมอง (อัมพาตอัมพฤกษ์) โรคหลอดเลือดหัวใจ (หัวใจขาดเลือด) และโรคไตเรื้อรัง (ไตวายต้องล้างไต)

อ่านต่อ
Latest

การเป็นผู้ดูแลคนป่วยเรื้อรัง (Caregiver)

การเป็นผู้ดูแลคนป่วยเรื้อรัง (Caregiver) นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ผู้ดูแล (Caregiver) การได้มาเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง หรือที่ฝรั่งเรียกว่า caregiver นั้น มักเกิดขึ้นแบบกะทันหัน ส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ที่คนที่เรารักต้องล้มป่วยลงโดยไม่ได้คาดหมาย ผู้ดูแลส่วนใหญ่จึงตกอยู่ในสภาพมือสมัครเล่นที่ต้องมามีความรับผิดชอบแบบล้นฟ้าชนิดไม่รู้ตัว เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ดูแลส่วนหนึ่งเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจากความเป็นมือสมัครเล่นไปเป็นมืออาชีพ คือปรับตัวได้ มีความสุขกับภารกิจใหม่เป็นอย่างดี แต่ผู้ดูแลส่วนใหญ่มักตกอยู่ในสภาพตั้งหลักไม่ทัน ปรับตัวไม่ได้ แม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานหลายปีก็ตาม

อ่านต่อ
Latest

ช็อกโกแล็ตอาจช่วยลดการตายจากโรคหัวใจ

งานวิจัยนี้ทำที่สวีเดน [1] ติดตามดูผู้ป่วยที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) โดยเลือกเฉพาะคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวานมาจำนวน 1,169 ให้กรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับปริมาณช็อกโกแลตที่รับประทานใน 12 เดือน แล้วเอามาแบ่งเป็นกลุ่มตามจำนวนครั้งของการรับประทานมากหรือน้อย แล้วตามดูคนทั้งหมดนี้ไปนาน 8 ปี พบว่ากลุ่มที่ทานช็อกโกแลตมากมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ทานช็อกโกแลตเลย โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสเสียชีวิตกับการรับประทานช็อกโกแลตนี้เป็นแบบแปรผันตามปริมาณที่รับประทาน (dose dependent) กล่าวคือ กลุ่มที่ทานช็อกโกแลตไม่เกินเดือนละครั้ง

อ่านต่อ
Latest

กินผักผลไม้เป็นวัว แต่โคเลสเตอรอลกลับสูง

เรียนคุณหมอสันต์ที่นับถือ ดิฉันเป็นคนมีสุขภาพดี ออกกำลังกายในฟิตเนสวันละสองสามชั่วโมงทุกวัน และทานอาหารที่ประกอบด้วยผักและผลไม้มากๆๆๆ ตรวจสุขภาพทุกปีก็ไม่มีอะไร แต่มาปีนี้ไปตรวจแล้วหมอโทรศัพท์ตามมาว่าให้ไปรับยาลดไขมันเพราะโคเลสเตอรอลสูงสามร้อยกว่า ดิฉันได้คัดลอกผลการตรวจมาให้ด้วยคือ Cholesterol 301.6LDL 131.2HDL 153.7Triglyceride 128.4 ขอให้คุณหมอช่วยวิเคราะห์ผลให้ฟังด้วยค่ะ ดิฉันหงุดหงิดมาก ไม่เข้าใจว่าทั้งออกกำลังกายเต็มที่และทานอาหารที่ระวังร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วยังมีโคเลสเตอรอลสูงได้อย่างไร และดิฉันควรจะทานยาลดไขมันไหม เพราะไม่ชอบทานยา ดิฉันอายุ 41 ปี

อ่านต่อ
Latest

กินยาแอสไพรินป้องกันอัมพาต หมอให้เปลี่ยนเป็นพลาวิกซ์ จะดีไหม

ผมเป็นอัมพฤกษ์ ปากเบี้ยวไปพักใหญ่แล้วก็หาย หมอที่รักษาผมคนที่หนึ่งให้ทานยาแอสไพรินป้องกันการเป็นอัมพาต ต่อมาหมออีกท่านหนึ่งบอกว่าไม่ดี จึงสั่งเปลี่ยนเป็นยาพลาวิกซ์ อยากถามความเห็นคุณหมอสันต์ว่ายาทั้งสองตัวนี้ตัวไหนดีกว่ากันครับ..”คนขี้สงสัย ตอบ ก่อนอื่นผมขอเรียกยาพลาวิกซ์ว่ายาคลอพิโดเกรล (clopidogrel) นะครับ เพราะเป็นมารยาทว่าหมอไม่ควรเรียกชื่อการค้าของยา เรื่องแอสไพรินกับคลอพิโดเกรล อะไรดีกว่าอะไรนี้ เคยมีงานวิจัยขนาดใหญ่ระดับนานาชาติเปรียบเทียบนานสิบกว่าปีมาแล้ว เป็นงานวิจัยคลาสสิกก็ว่าได้ ชื่อว่างานวิจัย CAPRIE [1] โดยสุ่มเอาเอาคนไข้โรคหลอดเลือดที่มีอาการชัดเจนแล้ว ทั้งที่มีอาการหัวใจขาดเลือดบ้าง

อ่านต่อ
Latest

ควรรับประทานวิตามินเสริมมากกว่าคำแนะนำ RDI เพื่อเป็นแอนตี้ออกซิแด้นท์ (antioxidant) หรือไม่

ประเด็นที่ 1. เรื่อง RDA เรื่องนี้ผมขออนุญาตพูดถึงประวัติศาสตร์หน่อยนะครับ เพราะว่าผมแก่แล้ว ขอเล่นประวัติศาสตร์บ้างนะ เรื่องมันเกิดเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อพันธมิตรต้องมีการปันส่วนอาหาร จึงจำเป็นต้องมีเกณฑ์ว่าอาหารอะไรแค่ไหนถึงจะพอให้พลเรือนและทหารกินแล้วมีแรงรบได้ คณะผู้เชี่ยวชาญจึงเสนอรายการพลังงานและสารอาหารแปดชนิดที่ร่างกายควรได้ในแต่ละวัน เรียกว่า RDA หรือ recommended daily allowances ซึ่งกรรมการอาหารและโภชนาการอเมริกันได้รับรองเมื่อปี 1941 ซึ่งก็หกสิบกว่าปีมาแล้ว

อ่านต่อ