Year: 2009

Latest

กินยาแอสไพรินป้องกันอัมพาต หมอให้เปลี่ยนเป็นพลาวิกซ์ จะดีไหม

ผมเป็นอัมพฤกษ์ ปากเบี้ยวไปพักใหญ่แล้วก็หาย หมอที่รักษาผมคนที่หนึ่งให้ทานยาแอสไพรินป้องกันการเป็นอัมพาต ต่อมาหมออีกท่านหนึ่งบอกว่าไม่ดี จึงสั่งเปลี่ยนเป็นยาพลาวิกซ์ อยากถามความเห็นคุณหมอสันต์ว่ายาทั้งสองตัวนี้ตัวไหนดีกว่ากันครับ..”คนขี้สงสัย ตอบ ก่อนอื่นผมขอเรียกยาพลาวิกซ์ว่ายาคลอพิโดเกรล (clopidogrel) นะครับ เพราะเป็นมารยาทว่าหมอไม่ควรเรียกชื่อการค้าของยา เรื่องแอสไพรินกับคลอพิโดเกรล อะไรดีกว่าอะไรนี้ เคยมีงานวิจัยขนาดใหญ่ระดับนานาชาติเปรียบเทียบนานสิบกว่าปีมาแล้ว เป็นงานวิจัยคลาสสิกก็ว่าได้ ชื่อว่างานวิจัย CAPRIE [1] โดยสุ่มเอาเอาคนไข้โรคหลอดเลือดที่มีอาการชัดเจนแล้ว ทั้งที่มีอาการหัวใจขาดเลือดบ้าง

อ่านต่อ
Latest

เมื่อพบว่าสารชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) สูงผิดปกติ

ต่อมลูกหมากคืออะไร “ ต่อมลูกหมาก ( Prostate Gland) ” เป็นหนึ่งในอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับมดลูกในผู้หญิง มันตั้งอยู่บริเวณคอของกระเพาะปัสสาวะ หุ้มอยู่รอบท่อปัสสาวะตอนต้น ผิวด้านหลังอยู่ชิดกับลำไส้ใหญ่ส่วนปลายใกล้ทวารหนัก ทำหน้าที่สร้างน้ำและน้ำหลั่งต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารของอสุจิที่สร้างโดยอัณฑะแล้วส่งมาตามท่ออสุจิมาพักที่ถุงน้ำเชื้อใกล้ๆกับต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมายมีลักษณะพิเศษตรงที่แทนที่มันจะหยุดเติบโตเมื่อย่างเข้าวัยผู้ใหญ่เต็มตัว (คือราว 25 ปี) แต่ต่อมลูกหมากยังไม่หยุด ยังคงเติบโตไปไม่หยุด

อ่านต่อ
Latest

ควรรับประทานวิตามินเสริมมากกว่าคำแนะนำ RDI เพื่อเป็นแอนตี้ออกซิแด้นท์ (antioxidant) หรือไม่

ประเด็นที่ 1. เรื่อง RDA เรื่องนี้ผมขออนุญาตพูดถึงประวัติศาสตร์หน่อยนะครับ เพราะว่าผมแก่แล้ว ขอเล่นประวัติศาสตร์บ้างนะ เรื่องมันเกิดเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อพันธมิตรต้องมีการปันส่วนอาหาร จึงจำเป็นต้องมีเกณฑ์ว่าอาหารอะไรแค่ไหนถึงจะพอให้พลเรือนและทหารกินแล้วมีแรงรบได้ คณะผู้เชี่ยวชาญจึงเสนอรายการพลังงานและสารอาหารแปดชนิดที่ร่างกายควรได้ในแต่ละวัน เรียกว่า RDA หรือ recommended daily allowances ซึ่งกรรมการอาหารและโภชนาการอเมริกันได้รับรองเมื่อปี 1941 ซึ่งก็หกสิบกว่าปีมาแล้ว

อ่านต่อ
Latest

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเมื่อเป็นแล้ว กลับดีหรือหายได้

แต่เดิมนั้นวงการแพทย์มีความเชื่อว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเมื่อเป็นแล้วมีแต่จะเดินหน้าเป็นมากขึ้น จนต้องจบลงด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด หรือการผ่าตัดหัวใจ หรือการตายจากหัวใจวายเท่านั้นต่อมานพ.ออร์นิชและคณะ ได้ทำการวิจัยเพื่อพิสูจน์การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างจริงจัง จะทำให้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เป็นแล้วถอยกลับมาดีขึ้นได้หรือไม่ โดยเอาคนป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดและตรวจสวนหัวใจพบว่ามีจุดตีบที่หลอดเลือดหัวใจแน่นอนแล้วมา 93 คน สุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง ให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการรับประทานอาหารมังสะวิรัติแบบไขมันต่ำ เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายระดับปานกลางแต่สม่ำเสมอ และจัดการความเครียดด้วยวิธีต่างๆเช่นฝึกสมาธิ โยคะ เป็นต้น กลุ่มที่สอง ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ให้ใช้ชีวิตในแนวทางดูแลสุขภาพไปตามแบบปกติ

อ่านต่อ