Latest

หนังสือคัมภีร์สุขภาพดี พิมพ์ครั้งที่ 2 เสร็จแล้ว มีขายแล้ว

การซื้อไม่ต้องจอง ใช้วิธีซื้อเองทางไลน์ “หนังสือหมอสันต์” โดยพิมพ์ Line ID ชื่อ @healthylife (โปรดสังเกตว่ามีตัว @ ด้วย และใช้อักษรตัวเล็กเขียนติดกันหมด) ไม่วางตามร้านหนังสือเพราะจะทำให้ราคาหนังสือสูงขึ้น กรณีไลน์มีปัญหาให้โทรศัพท์หาหมอสมวงศ์ (0868882521) หรือเขียนอีเมลหา (somwong10@gmail.com) หรือติดต่อทางเฟซบุ้คเพจ (นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์) แต่ไม่ว่าจะติดต่อเข้ามาทางไหน ท้ายที่สุดก็ยังต้องไปซื้อขายกันที่ไลน์ที่เดียว

การชำระเงินจำเป็นต้องทำตามที่ไลน์เขากำหนด คือจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต/เดบิต และแอป mobile banking ของไลน์เอง ทางไลน์ไม่อนุญาตให้ผู้ซื้อโอนเงินตรงเข้าบัญชีผู้ขายแบบเดิมอีกต่อไปแล้ว ดังนั้นหากท่านจะซื้อหนังสือผมรบกวนให้ท่านทำรายการเองและเลือกวิธีจ่ายเงินที่ไลน์เปิดให้เลือกได้เลย หากสั่งซื้อแล้วมีปัญหาท่านก็ยังสามารถแจ้งไลน์ @healthylife ให้ช่วยแก้ปัญหาได้อยู่เหมือนเดิมครับ

หนังสือมีขนาดใหญ่หน่อย (19 x26 ซม.) หนา 423 หน้า พิมพ์สี่สีเพราะมีภาพประกอบแยะ พิมพ์ด้วยอักษรตัวโต แต่ก็คุมน้ำหนักไว้ที่ 750 กรัมเพื่อให้ผู้สูงวัยถือนอนอ่านได้ ขายในราคาเล่มละ 495 บาท ส่งให้ฟรี

สำหรับท่านที่ยังไม่เคยทราบรายละเอียดของหนังสือนี้ ผมได้ก๊อปคำนำและสารบัญของหนังสือมาลงไว้ให้ดูท้ายนี้ด้วย

…………………………………………………………

ชื่อหนังสือ คัมภีร์สุขภาพดี   (Healthy Life Bible)

“….คำนำ ของ นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

ในวัย 70 ปี ในยุคสมัยที่โรคของคนส่วนใหญ่คือโรคเรื้อรังที่เกิดจากการกินและการใช้ชีวิตซึ่งแพทย์ไม่มีปัญญาที่จะไปรักษาให้หายได้ และหลักฐานวิทยาศาสตร์ก็ล้วนบ่งชี้ไปทางว่าการเปลี่ยนวิธีกินวิธีใช้ชีวิตต่างหากที่จะทำให้ผู้คนหายจากโรคเรื้อรังได้ เวลาในชีวิตที่เหลืออยู่ของผมนี้ สิ่งที่ผมอยากทำมากที่สุดก็คือทำอย่างไรจึงจะช่วยให้คนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ด้วยตัวเอง กล้าเปลี่ยน lifestyle หรือเปลี่ยนวิธีกินวิธีใช้ชีวิตเพื่อให้ตนเองมีสุขภาพดีไม่เป็นโรคเรื้อรัง ที่เป็นแล้วก็หายจากโรคเรื้อรังได้   

นั่นทำให้ผมคิดจะเขียนหนังสือสักเล่มไว้เป็นคู่มือสุขภาพสำหรับคนทั่วไปแบบปูความรู้พื้นฐานเรื่องร่างกายมนุษย์และผลวิจัยเกี่ยวกับโรคเรื้อรังที่สำคัญไว้ให้อย่างหนักแน่น คนในบ้านใครเป็นอะไรหรืออยากรู้อะไรก็มาเปิดอ่านดูได้ทุกเมื่อ สอนวิธีกลั่นกรองข้อมูลหลักฐานวิจัยที่ตีพิมพ์กันอย่างดกดื่นในอินเตอร์เน็ทด้วยว่าอะไรเชื่อได้มากน้อยแค่ไหน ผมคิดมาหลายปีแล้ว แต่มันมาติดตรงที่ผมยังไม่สามารถสื่อเรื่องกลไกการทำงานของร่างกายและกลไกการเกิดโรคเรื้อรังให้เข้าใจง่ายๆได้ จะไม่พูดถึงเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ก็ไม่ได้ เพราะสมัยหนึ่งผมเคยไปสอนในชั้นที่ผู้เรียนเป็นกลุ่มแพทย์ที่จบแพทย์จากต่างประเทศแต่สอบใบประกอบโรคศิลป์ไม่ได้สักที พอสอนไปได้ชั่วโมงเดียวผมสรุปได้ทันทีว่าแพทย์เหล่านั้นมีปัญหาตรงที่ความรู้พื้นฐานเรื่องร่างกายมนุษย์ไม่แน่นทำให้สร้างความรู้ต่อยอดไม่ได้ ดังนั้นเมื่อจะเขียนหนังสือเล่มนี้ผมจะต้องมีวิธีสื่อให้ผู้อ่านซึ่งไม่มีพื้นอะไรเลยให้เข้าใจหลักพื้นฐานวิชาแพทย์อย่างถ่องแท้ก่อน การจะสื่อเรื่องยากให้ง่ายมันต้องใช้ภาพช่วยบ้าง ใช้การ์ตูนบ้าง แต่ผมเองวาดภาพไม่เป็น ผมเคยลองจ้างช่างวาดภาพเวชนิทัศน์มาลองวาดให้ก็ไม่ได้อย่างใจ จึงทำได้แค่ “ซุกกิ้ง” คือจับโครงการเขียนหนังสือเล่มนี้ใส่ลิ้นชักไว้ตั้งหลายปี

จนกระทั่งผมได้พบกับคุณหมอมาย นักอาหารบำบัด (พญ.ดร.พิจิกา วัชราภิชาต) ตอนที่พบกันนั้นเธอตั้งรกรากอยู่ที่อังกฤษ มีครอบครัวอยู่ที่นั่น ซื้อบ้านอยู่ที่นั่น ทำงานอยู่ที่นั่น ได้ใบอนุญาตให้เป็นผู้พำนักตลอดชีพ (PR) ของประเทศอังกฤษแล้วด้วย หมอมายนอกจากจะเป็นคนรุ่นใหม่ที่เรียนมามากทั้งปริญญาแพทย์จากจุฬาและปริญญาโทปริญญาเอกจากมหา’ลัยลอนดอนแล้ว ยังเป็นผู้ที่ได้ศึกษาต่อเนื่องและปฏิบัติด้วยตนเองอย่างลึกซึ้งในเรื่องอาหารบำบัด ยิ่งไปกว่านั้นเธอมีงานอดิเรกเป็นนักวาดภาพวาดการ์ตูนด้วย เมื่อเธอยอมรับคำชวนของผมให้กลับมาทำงานด้วยกันที่เมืองไทย หนังสือเล่มนี้จึงได้เกิด 

ผมมั่นใจว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นคู่มือให้ท่านดูแลสุขภาพตัวเองด้วยตัวเองได้ 99% โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นความรู้ทางการแพทย์มาก่อนเลย มันเป็นหนังสือที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย ใช้เวลาอ่านสั้น จบสมบูรณ์ในแต่ละเรื่องแต่ละตอนโดยไม่ต้องอ่านจนหมดเล่มถึงจะเข้าใจ สงสัยเรื่องใดเมื่อใดก็เปิดอ่านเฉพาะเรื่องนั้นได้เมื่อนั้น

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์…”

สารบัญ Table of content

บทนำ

1. ทำอย่างไรเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์

1.1 การเรียกรถฉุกเฉิน และแอ็พมือถือ EMS 1669  

1.2 เจ็บหน้าอกแบบด่วน

1.3 อัมพาตเฉียบพลัน

1.4 แพ้แบบเฉียบพลัน (Anaphylaxis)

1.5 หน้ามืด เป็นตะคริว เป็นลม หมดสติ

1.6 ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบอันตราย

1.7 ปวดท้องเฉียบพลันและท้องร่วง

1.8 กินสารพิษเข้าไป

1.9 สัมผัสสารพิษ

1.10 แผล ผิวหนังฉีกขาด 

1.11 แผลถลอก

1.12 กระดูกหัก

1.13 การยกย้ายผู้บาดเจ็บ 

1.14 ฟันหัก ฟันหลุด

1.15 สัตว์กัด งูกัด แมลงต่อย

1.16 พิษแมงกะพรุน

1.17 จมน้ำ

1.18 ไฟฟ้าดูด

1.19 บาดเจ็บกล้ามเนื้อ

1.20 ชัก

1.21 วิธีใช้สิทธิเบิกเงิน UCEP ในภาวะฉุกเฉิน

2. ทำความเข้าใจกลไกการเกิดโรคเรื้อรังแบบไม่ติดต่อ

2.1 ไมโครไบโอม ชุมชนจุลชีพในลำไส้

2.2 อนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระ

2.3 การอักเสบในร่างกาย

2.4 การสูญเสียดุลยภาพของระบบประสาทอัตโนมัติ

2.5 การดื้อต่ออินซูลิน

3. สุขภาพดีด้วยตนเอง

3.1  โภชนาศาสตร์สมัยใหม่สำหรับทุกคน

3.1.1 คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

(1) คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว

(2) คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

(3) ทำไมเราจึงควรเลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

(4) Resistant starch คืออะไร

3.1.2 เส้นใยอาหาร (Fiber)

(1) เส้นใยแบบละลายน้ำได้

(2) เส้นใยแบบละลายน้ำไม่ได้

(3) ทำไมเราจึงควรเลือกกินอาหารที่มีเส้นใย

3.1.3 ไขมัน (Fat)

(1) ไขมันแบบอิ่มตัว (Saturated fat)

(2) ไขมันแบบไม่อิ่มตัว (Unsaturated fat)

3.1.4 ไขมันแบบไม่อิ่มตัว

(1) ไขมันแบบไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fat)

(2) ไขมันแบบไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fat)

3.1.5 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับไขมันที่ควรรู้

ประเด็นที่ 1. แคลอรีจากไขมัน

ประเด็นที่ 2. การกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว 

ประเด็นที่ 3. การก่อโรคทางหลอดเลือด 

ประเด็นที่ 4. น้ำมันประกอบอาหารต่างชนิดทนความร้อนไม่เท่ากัน 

ประเด็นที่ 5. เปรียบเทียบน้ำมันมะกอกแบบเวอร์จินกับแบบธรรมดา

3.1.6 คอเลสเตอรอล (Cholesterol)

(1) ไขมันเลว (LDL)

(2) ไขมันดี (HDL)

(3) LDL(C) และ LDL(P) คืออะไร

(4) LDL pattern A และ LDL pattern B คืออะไร

3.1.7 โปรตีน (Protein)

3.1.8 ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับโปรตีนที่ควรรู้

ข้อที่ 1. เข้าใจผิดว่าอาหารโปรตีนต้องได้มาจากเนื้อนมไข่ไก่ปลาหรือสัตว์เท่านั้น

ข้อที่ 2. เข้าใจผิดว่าพืชมีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ 

ข้อที่ 3. เข้าใจผิดว่าการขาดโปรตีนเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในทางโภชนาการ

3.1.9 ผลเสียของโปรตีนจากสัตว์

3.1.10  แคลอรี (Calorie)

3.1.11 วิตามิน (Vitamins)

3.1.12 ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับวิตามินที่ควรรู้

          ข้อที่ 1. เข้าใจผิดว่าพืชมีวิตามินไม่ครบ

ข้อที่ 2. เข้าใจผิดว่าวิตามินสกัดเม็ดมีคุณสมบัติเหมือนกับวิตามินที่พบในอาหารธรรมชาติ

ข้อที่ 3. เข้าใจผิดว่าการกินวิตามินเสริมไม่มีโทษ

3.1.13 แร่ธาตุ (Minerals)

(1) ธาตุหลัก (Major elements) 

(2) ธาตุเล็กธาตุน้อย (Trace elements)

3.1.14 น้ำ

(1) ทำไมเราต้องดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน

(2) เราควรดื่มน้ำวันละเท่าไร

3.1.15 Prebiotic 

3.1.16 Probiotic 

3.1.17 พฤกษาเคมี (Phytonutrients) 

3.1.18 โภชนาการที่ดีหน้าตาเป็นอย่างไร

3.1.19 รูปแบบอาหารที่ใช้พืชเป็นหลักและไขมันต่ำ

3.1.20 อาหารรูปแบบเมดิเตอเรเนียน (Mediterranean)

3.1.21 DASH อาหารรักษาความดันเลือดสูง

3.1.22 โภชนาการสำหรับแม่และเด็ก

3.2 การออกกำลังกาย

3.2.1 ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

3.2.2 ชนิดของการออกกำลังกาย

3.2.3 มาตรฐานของการออกกำลังกาย

3.2.4 การประเมินตนเองก่อนออกกำลังกาย

3.2.5 การออกกำลังกายแบบแอโรบิก

3.2.6 กลุ่มกล้ามเนื้อพื้นฐานของร่างกาย

3.2.7 ระยะ (phase) ของการออกแรงกล้ามเนื้อ

3.2.8 การออกกำลังกายแบบยืดหยุ่น(flexibility)

3.2.9 การออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

3.2.10 การออกกำลังกายเพื่อเสริมการทรงตัว

3.2.11 การออกกำลังกายแก้ไขออฟฟิศซินโดรม

3.2.12 ความปลอดภัยของการออกกำลังกาย

3.3 การจัดการความเครียด

3.3.1 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบประสาทอัตโนมัติ ANS (Autonomic nervous system)

3.3.2 Simplest meditation เทคนิคการวางความคิดแบบง่ายที่สุด

3.3.3 เทคนิคการตัดกระแสความคิด

3.3.4 Identity การสำนึกว่าเป็นบุคคล

3.3.5 Self inquiry เทคนิคการสอบสวนและลงทะเบียนความคิด

3.3.6 Body scan พลังชีวิตและการรับรู้พลังชีวิต

3.3.7 Concentrative meditation การฝึกสมาธิและเข้าฌาน

3.3.8 Breathing meditation อานาปานสติ

3.3.9 Coping with pain การรับมือกับอาการปวดด้วยวิธีทำสมาธิ

          3.4 การนอนหลับ

3.5 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง

3.6 Simple-8 ดัชนีสุขภาพสำคัญ 8 ตัวง่ายๆ 

          3.6.1 น้ำหนัก (ดัชนีมวลกาย)

3.6.2 ความดันเลือด

3.6.3 ไขมันในเลือด

3.6.4 น้ำตาลในเลือด

3.6.5 จำนวนผักผลไม้ที่กินต่อวัน

3.6.6 เวลาที่ใช้ออกกำลังกายต่อสัปดาห์

3.6.7 การสูบบุหรี่

3.6.8 การนอนหลับ

3.7 Tiny Habit การสร้างนิสัยใหม่ด้วยการทำนิดเดียว

3.8 การตรวจสุขภาพประจำปีและฉีดวัคซีนป้องกันโรค 

3.9 ระยะสุดท้ายของชีวิต

4. พลิกผันโรคด้วยตนเอง         

          4.1 โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ต้นทางของโรคเรื้อรัง

4.2 โรคหัวใจขาดเลือด

                     4.2.1 โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร

                     4.2.2 อาการของโรคหัวใจขาดเลือดเป็นอย่างไร

4.2.3 การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ

4.2.4 การจัดการโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

4.2.5 การจัดการโรคหัวใจขาดเลือดชนิดไม่ด่วน

4.2.6 อาหารสำหรับโรคหัวใจขาดเลือด

4.2.7 การออกกำลังกายสำหรับโรคหัวใจขาดเลือด

4.2.8 การรับมือกับความเครียดเฉียบพลันในโรคหัวใจ

4.2.9 การดื่มแอลกอฮอล์ในโรคหัวใจ

4.2.10 การตัดสินใจว่าจะทำบอลลูน/บายพาสหรือไม่

4.2.11 หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบต่างๆ

4.2.12 เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบต่างๆ

4.2.13 ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นอย่างไร

4.2.14 การป้องกันการตายกะทันหัน

4.3 โรคความดันเลือดสูง

4.3.1 โรคความดันสูงคืออะไร

4.3.2 นัยสำคัญของความดันเลือดสูง

4.3.3 สาเหตุของความดันเลือดสูง

4.3.4 การวัดความดันด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง

4.3.5 ความดันวัดที่บ้านกับที่โรงพยาบาลจะเชื่อตัวไหนดี

4.3.6 อาการของโรคความดันเลือดสูง

4.3.7 วิธีรักษาความดันเลือดสูงด้วยตนเอง

4.3.8 ยารักษาความดันเลือดสูงชนิดต่างๆ

4.3.9 การป้องกันโรคความดันเลือดสูง

4.3.10 ผลวิจัยความดันที่เอาไปพลิกผันโรคให้ตัวเองได้

4.3.11  วิธีลดและเลิกยารักษาความดันเลือดสูง

4.4 โรคเบาหวาน

4.4.1 โรคเบาหวานคืออะไร      

4.4.2 ชนิดของโรคเบาหวาน

4.4.3 กลไกการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1

4.4.4 กลไกการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (การดื้อต่ออินซูลิน)

4.4.5 การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

4.4.6 มายาคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน

4.4.7 วิธีรักษาโรคเบาหวานโดยไม่ใช้ยา

4.4.8 วิธีลดและเลิกยาเบาหวาน

4.5 โรคไขมันในเลือดสูง

                     4.5.1 โรคไขมันในเลือดสูงคืออะไร

4.5.2 การรักษาไขมันในเลือดสูงด้วยตนเอง

4.5.3 ระดับ LDL ที่พึงประสงค์ตามระดับความเสี่ยงแต่ละคน

4.5.4 ความเสี่ยงและประโยชน์ของยาลดไขมัน

4.5.5 การลดและเลิกยาลดไขมัน

4.6 โรคอัมพาต

          4.6.1 โรคอัมพาตคืออะไร

4.6.2 การวินิจฉัยอัมพาตเฉียบพลัน

4.6.3 การจัดการโรคอัมพาตเฉียบพลัน

4.6.4 การฟื้นฟูหลังการเป็นอัมพาต

4.7 โรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

4.7.1 นิยามโรคสมองเสื่อม

4.7.2 การตรวจคัดกรองโรคอื่นที่อาการคล้ายสมองเสื่อม

4.7.3 การรักษาสมองเสื่อมด้วยตนเอง 

4.7.4 ยารักษาโรคสมองเสื่อม

4.7.5 อย่าเร่งให้ตัวเองเป็นสมองเสื่อมเร็วขึ้น

4.7.6 ยารักษาโรคสมองเสื่อม

4.8 โรคมะเร็ง

                     4.8.1 โรคมะเร็งคืออะไร

4.8.2 สาเหตุของโรคมะเร็ง

4.8.3 การวินิจฉัยโรคมะเร็ง

4.8.4 ข้อมูลเรื่องอาหารกับโรคมะเร็ง

4.8.5 การตรวจคัดกรองมะเร็ง

4.8.6 การรักษามะเร็งตามแบบแพทย์แผนปัจจุบัน

4.8.7 งานวิจัยรักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยอาหาร

4.8.8 การดูแลรักษาตนเองหลังการผ่าตัดเคมีบำบัดฉายแสง

4.8.9 การแพทย์เลือกในการร่วมรักษามะเร็ง

4.9 โรคอ้วน

4.9.1 นิยามของโรคอ้วน

4.9.2 หลักฐานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก

4.9.3 การลดน้ำหนักด้วยอาหารพืชเป็นหลัก

4.10 โรคไตเรื้อรัง

4.10.1 นิยามโรคไตเรื้อรังและเกณฑ์วินิจฉัย

4.10.2 การรักษาโรคไตเรื้อด้วยตัวเองตามหลักฐานใหม่

4.10.4 โปตัสเซียมกับโรคไตเรื้อรังระยะต่างๆ

4.10.5 ฟอสเฟตจากอาหารพืชและสัตว์ต่อโรคไตเรื้อรัง

4.10.6 การป้องกันโรคไตเรื้อรัง

4.10.7 การบำบัดทดแทนไตแบบต่างๆ

5. Human body ร่างกายมนุษย์

          5.1 พื้นฐานโครงสร้างทางกายภาพในร่างกายของเรา

5.1.1 อวัยวะ

5.1.2 เนื้อเยื่อ

5.1.3 เซลล์

5.1.4 อวัยวะย่อยในเซลล์ (organelles)

5.1.5 โมเลกุลขนาดใหญ่

5.1.6 โมเลกุลขนาดเล็ก

5.1.7 อะตอม

5.1.8 อิเล็กตรอน โปรตอน และควาร์ก

          5.2 ระบบการทำงานต่างๆในร่างกายของเรา

                     5.2.1 Integumentary system ระบบผิวหนัง

5.2.2 Nervous system ระบบประสาท

5.2.3 Muscular system ระบบกล้ามเนื้อ

5.2.4 Skeletal system ระบบกระดูก

5.2.5 Respiratory system ระบบการหายใจ

5.2.6 Circulatory system ระบบการไหลเวียน

5.2.7 Alimentary system ระบบทางเดินอาหาร

5.2.8 Urinary system ระบบทางเดินปัสสาวะ

5.2.9 Reproductive system ระบบสืบพันธ์

5.2.10 Hematology system ระบบเลือด

5.2.11 Lymphatic system ระบบน้ำเหลือง

5.2.12 Endocrine system ระบบต่อมไร้ท่อ

5.2.13 Microbiomes ชุมชนจุลชีพในร่างกาย

5.2.14 Homeostasis ร่างกายนี้ซ่อมแซมตัวเองได้

6. อาการผิดปกติที่พบบ่อย (Common Symptoms)

6.1 ปวดหัว 

6.2 ไข้ 

6.3 เจ็บคอ 

6.4 คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม 

6.5 ไอ 

6.6 หอบ หายใจไม่อิ่ม 

6.7 ปวดท้อง 

6.8 ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอ อาหารไม่ย่อย 

6.9 ท้องเสีย 

6.10 ท้องผูก 

6.11 เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก 

6.12 หน้ามืด เป็นลม 

6.13 หมดสติ 

6.14 ชัก 

6.15 แขนขาอ่อนแรง 

6.16 พูดไม่ชัด 

6.17 ปากเบี้ยว 

6.18 ตามืดเฉียบพลัน 

6.19 ทรงตัวไม่อยู่ 

6.20 ปวดฟัน เสียวฟัน 

6.21 ปวดท้องเมนส์ 

6.22 ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัว 

6.23 ปวดกระดูก 

6.24 ปวดนิ้วมือ ปวดข้อมือ 

6.25 ปวดหู 

6.26 ปวดต้นคอ ปวดคอ 

6.27 ปวดหัวไหล่ 

6.28 ปวดหลังปวดเอว 

6.29 ปวดสะโพก 

6.30 ปวดเข่า 

6.31 ปวดน่อง 

6.32 ปวดข้อเท้า 

6.33 ปวดส้นเท้า 

6.34 ปวดฝ่าเท้า 

6.35 ปวดนิ้วเท้า 

6.36 ปวดแสบเวลาปัสสาวะ 

6.37 ปวดก้น 

6.38 ปวดอวัยวะเพศ 

6.39 ปวดตอนร่วมเพศ 

6.40 ปวดอัณฑะ 

6.41 เจ็บเต้านม ปวดเต้านม 

6.42 เจ็บตา 

6.43 ก้อนผิดปกติ 

6.44 นอนไม่หลับ 

6.45 นอนกรน 

6.46 อ้วน ลงพุง น้ำหนักเพิ่ม 

6.47 ผอม น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจลด 

6.48 หนาวสั่น 

6.49 ไม่สบาย 

6.50 อ่อนเพลีย เปลี้ยล้า ไม่มีแรง 

6.51 ลื่นตกหกล้มง่าย 

6.52 หลังค่อม 

6.53 ซีด โลหิตจาง 

6.54 ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง 

6.55 เขียว เล็บเขียว ปากเขียว มือเขียว 

6.56 บวม 

6.57 เหน็บ / ชา 

6.58 สะอึก 

6.59 ผิวสีคล้ำ 

6.60 ลมพิษ 

6.61 จ้ำเลือด 

6.62 ผมร่วง 

6.63 รังแค 

6.64 ใจสั่น / ใจเต้นเร็ว 

6.65 ตะคริว 

6.66 มือสั่น 

6.67 เวียนหัว บ้านหมุน 

6.68 ขี้หลงขี้ลืม 

6.69 เมารถเมาเรือ 

6.70 เลือดกำเดาไหล 

6.71 จมูกไม่ได้กลิ่น 

6.72 แผลในปาก ร้อนใน 

6.73 กลิ่นปาก 

6.74 น้ำลายไหลจากมุมปาก 

6.75 เสียงแหบ 

6.76 กลืนลำบาก 

6.77 คลื่นไส้ / อาเจียน 

6.78 เรอเปรี้ยว / กรดไหลย้อน 

6.79 เบื่ออาหาร 

6.80 ถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือด 

6.81 กลั้นอุจจาระไม่อยู่ 

6.82 กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ /ปัสสาวะบ่อย 

6.83 ปัสสาวะเป็นเลือด 

6.84 เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด 

6.85 ประจำเดือนไม่มี / ไม่มา 

6.86 ตกขาว 

6.87 ร้อนวูบวาบ 

6.88 อวัยวะเพศไม่แข็งตัว 

6.89 การคุมกำเนิด 

6.90 ของเหลวหรือน้ำนมไหลจากเต้านม 

6.91 ตามีอะไรลอยไปมา (Floaters) 

6.92 ตาเห็นแสงระยิบระยับ 

6.93 ตาแห้ง 

6.94  ตาโปน 

6.95  ตามัว / ตามืด 

6.96  หนังตาตก 

6.97 เสียงในหู 

6.98 คันหู 

6.99 หูตึง หูหนวก 

6.100 หูน้ำหนวก 

6.101 กังวล / เครียด 

6.102 กลัวเกินเหตุ (panic) 

6.103 ซึมเศร้า (depress) 

6.104 ย้ำคิดย้ำทำ 

6.105 เห็นภาพหลอน / ได้ยินเสียงหลอน

7. การแปลผลการตรวจทางการแพทย์

7.1 CBC การตรวจนับเม็ดเลือด

7.2 UA การตรวจปัสสาวะ

7.3 Blood chemistry การตรวจวิเคราะห์ทางชีวเคมีของเลือด

8. รู้จักใช้หลักฐานวิทยาศาสตร์

9. บรรณานุกรม

10.  เกี่ยวกับผู้เขียน

…………………………………………………………….

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์