Tag: ซึมเศร้า

Latest

ปวดหัวมาก เห็นคนรู้จักปวดหัวแล้วถึงตาย

เรียนคุณหมอสันต์ที่นับถือ ดิฉันอ่านบล็อกของคุณหมอแล้ว รู้สึกว่าการเขียนมาหาคุณหมอคงได้ความมากกว่าไปโรงพยาบาล คือก่อนหน้านี้คนรู้จักของดิฉันเป็นผู้หญิงเหมือนกัน เขาปวดหัวมาก ไปโรงพยาบาลหมอบอกเป็นเพราะเครียด ให้ยากลับมากิน คืนนั้นเสียชีวิตเลย ดิฉันมีอาการปวดหัวเหมือนกัน ปวดมาก คลื่นไส้ อาเจียน เป็นแบบนี้บ่อยปีละหลายครั้ง ถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลเกือบทุกครั้ง ครั้งนี้ขอให้หมอตรวจคอมพิวเตอร์สมองแต่หมอไม่ยอมตรวจ อ้างว่าไม่จำเป็น ขอทราบรายละเอียดก็ไม่อธิบาย ดิฉันก็เกรงใจคนที่รอข้างหลัง ทั้งๆที่เป็นโรงพยาบาลเอกชน อยากถามคุณหมอสันต์ว่าปวดหัวนี้

อ่านต่อ
Latest

ปวดหลังมาก ผ่าตัด laminectomy หรือ microdiscectomy

คุณพ่ออายุ 63 ปี มีอาการปวดหลังมาก ปวดบริเวณแผ่นหลังตอนล่าง ไปรักษาที่โรงพยาบาล (สงวนนาม) คุณหมอซึ่งเป็นเฉพาะทางด้านกระดูกสอบถามว่าปวดแปล๊บไปที่ขาไหม และกลั้นอุจจาระปัสสาวะได้ดีหรือเปล่า ซึ่งคุณพ่อไม่ได้ปวดแปล๊บไปที่ขา และยังกลั้นอุจจาระปัสสาวะได้ดี หมอได้ให้ยาแก้อักเสบ Arcoxia, Pariet, Norgesic ทานยาอยู่นานสองเดือน ให้ทำกายภาพบำบัด ทั้งดึงหลัง ใช้อุลตร้าซาวด์ ใช้ไฟฟ้ากระตุ้น

อ่านต่อ
Latest

เวลามีประจำเดือนจะบวมเป็นอึ่งอ่าง

เรียน คุณหมอสันต์คะ ดิฉันน้ำหนัก 64 กก. สูง 157 ซม. เวลามีประจำเดือนจะบวมเป็นอึ่งอ่าง เพื่อนๆบอกว่าอย่างนี้เรียกอ้วนไม่ใช่บวม ดิฉันว่าไม่ใช่ เพราะเวลากดลงไปผิวหนังมีรอยบุ๋มนิ้วมือคาอยู่เลย แล้วก็ปวดท้องเมนส์รุนแรงมาก ต้องหยุดงาน ทำอะไรไม่ได้เลย ไปหาหมอหมอก็ให้กินยาคุมจนอ้วนเอาๆ และให้กินยา Arcoxia และยา Lasix

อ่านต่อ
Latest

แพทย์จะพูดกับผู้ป่วยอย่างไรให้ได้ข้อมูลครบถ้วน

อาจารย์สันต์คะ หนูเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ซึ่งอาจารย์คงจำไม่ได้แล้ว กำลังมีปัญหาว่าให้ข้อมูลผู้ป่วยไม่ครบแล้วเป็นคดี อยากฟังคำแนะนำของอาจารย์เรื่องการให้ข้อมูลทางเลือกแก่ผู้ป่วย(สงวนนาม) ตอบครับ ประเด็นที่ 1. แพทย์จำเป็นต้องให้ข้อมูลทางเลือกให้ผู้ป่วยให้ครบ อันนั้นเป็นของแน่ ดังที่กำหนดไว้ในพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ว่า “..มาตราที่ 8. ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจรับหรือไม่รับบริการใด..” ประเด็นที่ 2. พวกเราที่เป็นแพทย์ได้ทำอย่างนั้นจริงหรือเปล่า

อ่านต่อ
Latest

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต (End Of Life Care)

     ระยะสุดท้ายของชีวิต (end of life) เกิดขึ้นเมื่อมีสามกรณีต่อไปนี้ครบถ้วน (1) ผู้ป่วยเป็นโรคหรือสภาวะที่รุนแรงถึงอาจเสียชีวิตได้ทุกเมื่อ(2) ไม่มีวิธีรักษาใดที่จะยืดอายุให้ยืนยาวออกไปโดยมีชีวิตที่มีคุณภาพด้วย (length of quality life) อีกต่อไปแล้ว(3) ผู้ป่วย (หรือผู้แทนโดยชอบของผู้ป่วย) ได้รับทราบความรุนแรงของสถานการณ์แล้ว    

อ่านต่อ
Latest

การเป็นผู้ดูแลคนป่วยเรื้อรัง (Caregiver)

การเป็นผู้ดูแลคนป่วยเรื้อรัง (Caregiver) นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ผู้ดูแล (Caregiver) การได้มาเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง หรือที่ฝรั่งเรียกว่า caregiver นั้น มักเกิดขึ้นแบบกะทันหัน ส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ที่คนที่เรารักต้องล้มป่วยลงโดยไม่ได้คาดหมาย ผู้ดูแลส่วนใหญ่จึงตกอยู่ในสภาพมือสมัครเล่นที่ต้องมามีความรับผิดชอบแบบล้นฟ้าชนิดไม่รู้ตัว เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ดูแลส่วนหนึ่งเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจากความเป็นมือสมัครเล่นไปเป็นมืออาชีพ คือปรับตัวได้ มีความสุขกับภารกิจใหม่เป็นอย่างดี แต่ผู้ดูแลส่วนใหญ่มักตกอยู่ในสภาพตั้งหลักไม่ทัน ปรับตัวไม่ได้ แม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานหลายปีก็ตาม

อ่านต่อ
Latest

โรคซึมเศร้า (Major depression)

โรคซึมเศร้า (Major depression) เกณฑ์วินิจฉัย  โรคซึมเศร้า หรือ Major depression (เรียกอีกชื่อว่า unipolar depression) ในทางการแพทย์มีเกณฑ์วินิจฉัยดังนี้ ต้องมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อยห้าอย่างภายในระยะ 2 สัปดาห์เดียวกัน โดยในห้าอย่างนั้นต้องมีอย่างที่ 1 และ 2 อยู่ด้วย

อ่านต่อ