Latest

ปรับปรุงแค้มป์สุขภาพดีด้วยตนเอง (GHBY39)

     แค้มป์สุขภาพดีด้วยตนเอง ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อ GHBY-29 คือสิบแค้มป์ที่แล้ว มาบัดนี้ได้มีเหตุให้ต้องปรับปรุงอีกครั้ง

ความเป็นมาของ GHBY  

     เมื่อหลายปีมาแล้ว ตอนที่ตัวผมเองป่วย ผมหันมาดูแลตัวเองในเรื่องการกิน การออกกำลังกาย การดูแลจัดการความเครียด จนแก้ปัญหาให้ตัวเองได้ ผมได้ตัดสินใจเลิกอาชีพหมอผ่าตัดหัวใจเปลี่ยนมาทำอาชีพหมอส่งเสริมสุขภาพ สอนผู้ป่วยให้รู้วิธีดูแลสุขภาพของตัวเองได้ด้วยตัวเอง ทำสถานที่ เปิดแค้มป์สุขภาพสอนคนที่ยังไม่ป่วยให้ดูแลตัวเองเป็นว่าทำอย่างไรจึงจะไม่ป่วย ตั้งชื่อว่า GHBY (Good Health By Yourself) แปลว่า “คอร์สสุขภาพดีด้วยตัวเอง” ผมรู้ว่าคนส่วนหนึ่งยังขาดความรู้ในประเด็นสำคัญ ผมจึงจับประเด็นที่คนยังไม่รู้นั้นออกมาคลี่ให้เห็นโดยใช้หลักฐานวิทยาศาสตร์ประกอบ ผมรู้ว่าบางคนมีความรู้แล้วแต่ขาดทักษะ (skill) ที่จะลงมือปฏิบัติ เช่นจะเปลี่ยนอาหารไปเป็นอาหารแบบกินพืชเป็นหลัก (PBWF) แต่ก็ทำไม่เป็น จะออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แต่ก็ไม่รู้วิธี ผมจึงสอนทักษะด้วย ในแง่ของการจัดการความเครียด ผมก็จับเอาผลวิจัยว่าอะไรลดความเครียดได้เอามาฝึกมาสอนหมด ไม่ว่าจะเป็นโยคะ สมาธิ ไทชิ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ผู้เข้าแค้มป์เก็ทดีมาก หลายคนนำไปใช้กับตัวเองได้ผลดีมาก แต่เมื่อพบกันนานหลายเดือนหรือหลายปีต่อมา หลายคนยังดูแลตัวเองดีอยู่ได้ แต่ผมพบว่าหลายคนมีอาการ “ถ่านหมด” หรือพลังมอด ความบันดาลใจหดหาย ต่อมาผมจึงได้ปรับปรุงหลักสูตรโดยเพิ่ิมเติมวิธีสร้างความบันดาลใจ (Motivation) เข้าไปด้วย โดยใช้จิตวิทยาคิดบวกและเพื่อนช่วยเพื่อน แต่ก็พบว่าแค่นั้นก็ยังไม่พอ

เหตุที่ต้องปรับปรุง GHBY

     ประเด็นที่ความบันดาลใจหดหายเหมือนไฟไหม้ฟางกระพือขึ้นแล้วก็มอดไปนั้น ผมประเมินว่ามีอยู่สองสาเหตุ

     (1) วิธีสร้างความบันดาลใจที่ผ่านมาใช้วิธีกระตุ้นให้คิดบวก ซึ่งผลของมันไม่ซึมลึก มันจะต้องใช้วิธีวางความคิดให้หมดเพื่อเปิดให้เข้าถึงพลังชีวิตในตัวเองที่เรียกว่า “ปราณา”ในภาษาแขก หรือ “ชี่” ในภาษาจีน ใจอันสงบเย็นที่ปลอดความคิดนี้จะเป็นช่องให้พลังชีวิตฉายแสง แล้วการเปลี่ยนชีวิตอย่างสิ้นเชิงแท้จริงจึงจะเกิดขึ้น นี่เป็นยุทธศาสตร์ใหม่ถอดด้ามที่หมอสันต์คิดขึ้นเองและจะนำมาใช้จริงแล้ว ได้ผลไม่ได้ผลก็ต้องติดตามกันต่อไป

     (2) การขาดการสื่อสารสนับสนุนกันต่อเนื่องหล้งจบแค้มป์ก็เป็นสาเหตุให้ “ลืม” ความตั้งใจ แต่ก่อนการสื่อสารเพื่อตามสนับสนุนกันเมื่อจบแค้มป์ไปแล้วมันกระท่อนกระแท่น โทรศัพท์ถามอะไรมาก็ตอบได้แค่ผิวๆเพราะลืมไปแล้วว่าโครงสร้างสุขภาพสมาชิกท่านนี้เป็นอย่างไร แต่ตอนนี้เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์มีระบบฐานข้อมูลสมาชิกบนอินเตอร์เน็ทที่เรียกว่า health dashboard ที่ใช้งานได้ดีแล้วกับสมาชิกแค้มป์พลิกผันโรคด้วยตนเอง (RDBY) ในระบบนี้สมาชิกถามอะไรมาตอบได้ตรงจุดหมดเพราะเปิดดูข้อมูลสุขภาพของสมาชิกคนถามได้ทันที ระบบนี้จะเอื้อให้มีการสื่อสารติดตามกระตุ้นสมาชิกที่จบแค้มป์ไปแล้วได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นคือความสามารถที่ระบบจะพ่วงอุปกรณ์ผูกติดตัวผู้ป่วยเช่นเครื่องนับก้าว เครื่องวัดความดัน เครื่องเจาะน้ำตาล เข้ากับอินเตอร์เน็ท ผ่านบลูทูธของมือถือ ทำให้ข้อมูลสามารถโยงขึ้นมาไว้บนฐานข้อมูล health dashboard ของเวลเนสวีแคร์ได้อย่างเป็นอัตโนมัติ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการติดตามสมาชิกที่มาเข้าแค้มป์ GHBY ไปตลอดชีวิตแบบสองทาง คือทางด้านสมาชิกก็เอาข้อมูลสุขภาพขึ้นแดชบอร์ด มีอะไรก็ถามเข้ามา อีกด้านหนึ่งทางด้านเวลเนสวีแคร์ก็สามารถตามดูดัชนีสุขภาพสมาชิกได้ต่อเนื่องและตอบคำถามได้อย่างตรงประเด็นและเจาะลึกตรงปัญหารายคน

     แค้มป์ที่จะปรับปรุงใหม่ตั้งแต่ GHBY39 ไปนี้ โครงของหลักสูตรจะเป็นดังนี้

1. โภชนาการแบบพืชเป็นหลักและไขมันต่ำ
2. การออกกำลังกาย ทั้งแอโรบิก เล่นกล้าม และเสริมการทรงตัว
3. การสร้างความบันดาลใจผ่านการเข้าถึงพลังชีวิตของตัวเอง
4. การใช้ดัชนีง่ายเจ็ดตัว (simple 7) ในการบริหารสุขภาพตนเอง
5. การสร้างกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
6. การติดตามสื่อสารกันต่อเนื่องผ่าน health dashboard

     ดังนั้นหน้าตาของคอร์สใหม่จะเป็นดังนี้

  ……………………………………………………….

หลักสูตรคอร์สสุขภาพดีด้วยตัวเอง

Good Health By Yourself (GHBY) Camp Syllabus

Motto
 “เรียน” สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ (knowledge)
“ทำ” สิ่งที่ยังไม่เคยทำ (skill)
“ชอบ” สิ่งที่ไม่เคยชอบ (attitude)

คอนเซ็พท์ของแค้มป์ (Conceptual Design)

     ให้คนกลุ่มเล็กๆประมาณ 24 คน ได้มาพักผ่อนปลายสัปดาห์ (2 วัน 1 คืน) ร่วมกับ นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ที่เวลเนสวีแคร์เซ็นตเตอร์ ที่มวกเหล็ก ซึ่งสงบเงียบและไม่มีบุคคลภายนอกมารบกวนยุ่งเกี่ยว แล้วเรียนรู้สาระสำคัญเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง และฝึกทักษะต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการเข้าถึงพลังชีวิตของตนเองและการดูแลสุขภาพตนเองไปด้วยกัน รวมทั้งจับกันเป็นกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือกันและกันในอนาคต ตลอดถึงการติดตามสื่อสารกันผ่านอินเตอร์เน็ทในอนาคต ในบรรยากาศการพูดคุยแบบกันเองอย่างไม่เป็นทางการ

แค้มป์นี้เหมาะสำหรับใคร

     GHBY เหมาะสำหรับคนทั่วไปที่สนใจที่จะมีสุขภาพดีด้วยการลุกขึ้นมาดูแลตัวเองอย่างจริงจัง อาจจะเป็นคนที่ตอนนี้ยังไม่ป่วย หรือเริ่มป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่จะได้ประโยชน์จากการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี แต่ยังไม่ได้ป่วยมากถึงขั้นที่จะต้องเจาะลึกปัญหาเรื่องโรคเรื่องยาของตนเป็นพิเศษ (กรณีป่วยถึงขั้นใช้ยามากควรไปเข้าแค้มป์พลิกผันโรคด้วยตัวเอง – RDBY)

วัตถุประสงค์  (Objectives)

1. วัตถุประสงค์ด้านความรู้ (knowledge)

มุ่งให้ผู้เข้าคอร์สมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้

1.1 สรุปงานวิจัยใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับภาพรวมของการมีสุขภาพดี
1.2 โภชนาการในแนวกินพืชในรูปแบบใกล้ธรรมชาติ (Whole food, plant based)
1.3 คำแนะนำโภชนาการของอนุกรรมการวิทยาศาสตร์ USDA 2015-2000 และ Canada Food Guide 2019
1.4 วิเคราะห์คำแนะนำเรื่องอาหารที่ปรับแต่ง (processed food) และเนื้อแดง (red meat) ของ WHO 2015
1.5 วิธีอ่านและแปลความหมายฉลากอาหาร (1) ประเด็นหน่วยบริโภค (2) ประเด็นแคลอรี่ (3) ประเด็นกากเส้นใย (4) ประเด็นชนิดของไขมัน
1.6 อาหารพืชที่มีคุณสมบัตดีต่อสุขภาพอย่างโดดเด่น
1.7 Sprout & microgreen เรียนรู้คุณค่าและวิธีทำต้นอ่อนเมล็ดงอกชนิดต่างๆ
1.8 งานวิจัยผลของการปรุงอาหารแบบต่างๆต่อการทำลายคุณค่าของอาหาร
1.9 การออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (aerobic exercise) สามประเด็น (1) หนักพอควร คือหอบเหนื่อยร้องเพลงไม่ได้ (2) ต่อเนื่อง คือ 30 นาทีขึ้นไป (3) สม่ำเสมอ คือ สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 5 วัน
1.10 การออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อ (strength training) สิบประเด็น (1) กลุ่มกล้ามเนื้อหลักสิบกลุ่ม (2) การฝึกทีละกลุ่มกล้ามเนื้อ (3) การยืดกล้ามเนื้อก่อน (4) การฝึกท่าร่าง (5) การทำซ้ำจนล้า (6) การทำเพิ่ม (overload) ทีละนิด (7) หลักการหายใจ (8) หลักเคลื่อนไหวช้า (9) หลักพิสัยการเคลื่อนไหว (10) หลักพักและฟื้น
1.11 การออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัว (balance exercise) รวมถึง 5 องค์ประกอบของการทรงตัว และ 7 ปัจจัยที่ทำให้ลื่นตกหกล้มง่าย
1.12 ความเครียด และกลไกการเกิด และผลต่อร่างกาย
1.13 การเข้าถึงพลังชีวิตผ่านการฝึกสติสมาธิ โยคะ ไทชิ
1.14  สุขศาสตร์ของการนอนหลับ (Sleep hygiene)
1.15 ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพอย่างง่าย 7 ตัวของ AHA (1) น้ำหนัก (2) ความดัน (3) น้ำตาล (4) ไขมัน (5) อาหารพืช (6) การออกกำลังกาย (7) บุหรี่
1.16 การบริหารสุขภาพตนเองด้วยดัชนีง่ายๆ 7 ตัว
1.17 การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลสุขภาพส่วนตัวบนอินเตอร์เน็ท (health dashboard)
1.18 หลักพื้นฐานการปฏิบัติการช่วยชีวิต

2 วัตถุประสงค์ด้านทักษะ

มุ่งให้ผู้เข้าแค้มป์ มีทักษะ สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ด้วยตนเองที่บ้านได้
2.1 เลือกอาหารแนว whole food, plant based มาเพื่อการบริโภคของตัวเองและครอบครัวได้
2.2 อ่านฉลากอาหาร แปลความหมาย และใช้ประโยชน์จากฉลากอาหารได้
2.3 ลงมือทำอาหารแนว whole food, plant based ได้ด้วยตนเอง
2.4 เลือกซื้อและ/หรือปลูกผักสวนครัว ผักพื้นบ้าน และเครื่องเทศที่ดีต่อสุขภาพได้ด้วยตนเอง
2.5 ออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (aerobic exercise) ได้ด้วยตนเอง
2.6 ประเมินและติดตามดูสมรรถนะร่างกายตนเองด้วยวิธี one mile walk test ได้
2.7 ออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength training) ได้ด้วยตนเอง ทั้งแบบมือเปล่า ใช้ดัมเบล ใช้สายยืด และใช้กระบอง
2.8 ออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัว (balance exercise) ได้ด้วยตนเอง
2.9 ฝึกปฏิบัติเพื่อการเข้าถึงพลังชีวิตของตนเองต่อได้เองที่บ้าน
2.10 ปฏิบัติสุขศาสตร์ของการนอนหลับได้ด้วยตนเอง
2.11 ใช้ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพอย่างง่าย 7 ตัวของ AHA ติดตามดูแลสุขภาพของตนเองได้
2.12 ใช้ health dashboard ด้วยตนเองได้

3 วัตถุประสงค์ด้านเจตคติ

มีเป้าหมายให้ผู้เข้าแค้มป์มีเจตคติที่
3.1 รักแนวทางดูตนเองแบบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (health promotion attitude)
3.2 ชอบการใช้ชีวิตแบบกระตือรือล้นและเคลื่อนไหวมาก (active lifestyle attitude)
3.2 ชอบดูแลตัวเองและทำอะไรด้วยตนเอง (do it yourself attitude)

แผนกิจกรรม

สถานที่: เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ (Wellness We care Center) มวกเหล็ก-เขาใหญ่

วันแรก

8.30 -9.30 น.  เดินทางถึงเวลเนสวีแคร์ (มวกเหล็ก-เขาใหญ่) เช็คอินที่บ้าน Grove House เข้าห้องพัก ทำกิจธุระส่วนตัว
9.30-10.00 ทำความรู้จักกัน เรียนรู้จากกันและกัน Getting to know each other
10.00 -10.30 Briefing: Evidence based total lifestyle modification
                        หลักฐานวิทยาศาสตร์ที่สรุปได้ว่าการปรับวิถีชีวิตอย่างสิ้นเชิง ทำให้อายุยืน
                        และชีวิตมีคุณภาพ
10.30-11.00 Briefing: USDA’s Guidelines for Nutrition และ Canada Food Guide
                        บรรยายคำแนะนำโภชนาการปัจจุบัน อะไรควรกิน อะไรไม่ควรกิน
11.00 – 12.00 Workshop : Food shopping
                        กิจกรรมจ่ายตลาด ฉลาดซื้อ
12.00 – 13.30 Workshop: Cook your own meal
                        ชั้นเรียนทำอาหารด้วยตนเองในแนวกินพืชเป็นหลักในแบบใกล้เคียงธรรมชาติ Whole food, plant-based แล้วรับประทานอาหารกลางวันที่ตัวเองทำ
13.30 – 14.00 Workshop: Access your Prana through Yoga
                        ฝึกปฏิบัติโยคะเพื่อผ่อนคลายและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
14.00 – 15.00 Workshop: Muscle strength training
                        ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
15.00 – 16.00 Workshop: Access your Prana through balanced movement
                        ฝึกปฏิบัติการเข้าถึงพลังชีวิตด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย
16.00 – 16.30 Coffee break
                        พักดื่มกาแฟ
16.30-17.30 Workshop: Balance exercise with Line dance
                        ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัวด้วยวิธีไลน์ด้านซ์
17.30 – 18.30 Workshop: Herbs Spices and Sprout
                        ทัวร์สวนครัวผักพื้นบ้านและพืชเครื่องเทศ แล้วทำกิจกรรมปลูกผักและเพาะเมล็ด                             งอกเพื่อเป็นอาหาร
18.30 – 20.30 Dinner: อาหารเย็น ร้องเพลงเล่น พูดคุยแลกเปลี่ยน
20.30         กลับห้องพัก พักผ่อน เตรียมความพร้อมสำหรับเช้าวันรุ่งขึ้น

วันที่สอง

6.30 – 7.30 Workshop: One mile walk test
                        ฝึกประเมินสมรรถนะร่างกายตนเองด้วยวิธี One mile walk test
7.30 – 8.00  Workshop: Tai Chi
                        ฝึกปฏิบัติเคลื่อนไหวอย่างมีสติ ด้วยวิธี Tai Chi
08.00– 9.30  Breakfast
                        อาบน้ำ รับประทานอาหารเช้า
9.30 – 10.30 Access your Prana through meditation
                        การเข้าถึงพลังชีวิตด้วยการฝึกสมาธิ
10.30 – 12.00 Workshop: AHA’s Seven simple health index
                        ภาคปฏิบัติการประเมินปัจจัยเสี่ยงสุขภาพส่วนบุคคล
                        ทำแผนสุขภาพส่วนบุคคลและการติดตามผ่าน personal dashboard
                        Coffee break ในขณะเรียน
12.00 – 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.00 Workshop: Hands only CPR
                        ฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตด้วยมือเพียงอย่างเดียว
14.00 – 16.00 Questions and Answers
                       นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ตอบคำถามและให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพทั้งในแง่การส่งเสริมสุขภาพแลป้องกันโรค และในแง่การรักษาโรคเรื้อรังของแต่ละบุคคล รวมทั้งปรึกษาผลแล็บ เอกซเรย์และผลการตรวจพิเศษต่างๆ โดยผู้ร่วมแค้มป์ท่านอื่นสามารถนั่งฟังและร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์กันในห้องได้
16,00             ปิดแค้มป์
             
ค่าลงทะเบียน

     ราคาปกติของคอร์ส GHBY คือท่านละ 9,000 บาท รวมอาหารทุกมื้อ ที่พัก อุปกรณ์การเรียน แต่ไม่รวมค่าเดินทางยังเวลเนสวีแคร์ (ผู้เรียนต้องเดินทางไปเอง)

วิธีลงทะเบียนเข้าเรียน

   (1) ลงทะเบียนและจ่ายเงินผ่านเว็บไซท์ได้ที่
https://www.wellnesswecare.com/th/program/good-health-by-yourself-th/13
   (2) ลงทะเบียนทางโทรศัพท์โดยโทรศัพท์ติดต่อคุณครีม (จุฑารัตน์) ที่หมายเลข 0636394003 หรือไลน์ @wellnesswecare หรืออีเมล host@wellnesswecare.com แล้วโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี  บริษัท เมก้า วี แคร์ จำกัด เลขที่บัญชี 007-368-5478

การเตรียมตัวไปเข้าคอร์ส

     แนะนำให้เตรียมเครื่องแต่งกายที่ออกกำลังกายสะดวก ควรมีรองเท้าผ้าใบที่เดินบนพื้นหินขรุขระได้ และควรมีหมวกกันแดด และครีมกันแดด

การเดินทางไปเข้าคอร์ส

     สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว รถตู้กทม.-มวกเหล็ก (ขึ้นที่หมอชิตใหม่ โทร. 081-7802713,089-0222508,094-5153556) หรือรถไฟ (ลงสถานีมวกเหล็ก) ในกรณีเดินทางด้วยรถตู้หรือรถไฟ ต้องหารถรับจ้างจากตลาดมวกเหล็กเข้ามาส่ง ค่ารถมอเตอร์ไซค์ส่งจากตลาดราว 100 บาท ที่เวลเนสวีแคร์ ซึ่งตั้งอยู่ในมวกเหล็กวาลเลย์ อยู่ห่างจากตลาดมวกเหล็กราว 4 กม. อาจให้รถตู้จากกทม.แวะเข้ามาส่งก็ได้โดยต้องเพิ่มเงินให้เ้ขาประมาณ 120 บาท ในกรณีที่จะให้เวลเนสวีแคร์ช่วยประสานงานหารถรับจ้างเหมาไปจากกทม. ต้องติดต่อล่วงหน้า ค่าจ้างแทกซี่ 1,500 บาทเฉพาะขาไปจากกทม.ขาเดียว หรือ 3,000 บาทสำหรับการไปส่งแล้วไปรับกลับกทม.

สำหรับท่านที่เดินทางมาไกล หากต้องการมาพักเหนื่อยหนึ่งคืนก่อนเข้าเรียน สามารถเช็คอินเข้าพักได้ฟรีตอนเย็นวันศุกร์เพื่อนอนรอการเปิดเรียนเช้าวันรุ่งขึ้น

    กรณีเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ให้ใช้ Google Map โดยพิมพ์คำว่า Wellness We Care Center

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์