Month: January 2022

Latest

คนบ้าโปรตีน

เรียนคุณหมอสันต์ดิฉันหวังว่าอาการต่างๆจากอุบัติเหตุของคุณหมอคงจะฟื้นฟูกลับมาเหมือนเดิมแล้วนะคะ วันนี้ดิฉันมีเรื่องรบกวนให้คุณหมอช่วยแนะนำผลการตรวจแลป 2 ตัวนี้หน่อยค่ะ (c reactive protein 0.4 mg/L, homocysteine 11.2 micromol/L ) แปลว่าดิฉันทานโปรตีนเยอะเกินไปและมีค่าการอักเสบในเส้นเลือดสูงใช่ไหมคะ ดิฉันควรลดการทานโปรตีนให้น้อยลงหรือเปล่า ทานโปรตีนเยอะเพราะกล้ามเนื้อเริ่มลดจากอายุที่เพิ่มขึ้นค่ะ ตอนนี้พยายามทานให้ได้โปรตีนวันละ 60 กรัม หรืออกไก่

อ่านต่อ
Latest

นพ.สันต์ให้สัมภาษณ์แมกกาซีน Elite

(บทแปล คำสัมภาษณ์นพ.สันต์ ซึ่งให้สัมภาษณ์แมกกาซีนภาษาอังกฤษ Elite โดย Mr.Jame R. Haft บก.เป็นผู้สัมภาษณ์) อาหารพืชเป็นหลักและการปรับวิธีใช้ชีวิตจะนำพาไปสู่การมีอายุยืน คุณหมอสันต์ ใจยอดศิลป์ เป็นแพทย์ผู้มีความรู้ความชำนาญในเรื่องการป้องกันและพลิกผันโรคเรื้อรังด้วยการใช้อาหารพืชเป็นหลักและการปรับเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิต เมื่อไม่นานมานี้อิลลีทได้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับคุณหมอสันต์ เพื่อถกปรัชญา “สุขภาพดีด้วยตนเอง” ของคุณหมอ และคุยถึงการประชุมออนไลน์ “ Asian

อ่านต่อ
Latest

หนูอ่านเมนูจบแล้ว ไม่ต้องทานก็ได้ ใช่ไหมค่ะ?

หนูศึกษาปฏิบัติธรรมมาพักหนึ่งแล้ว ก็หลายปีอยู่ ต่อมาได้ติดตามบล็อกของคุณหมอหนูมีความรู้สึกว่าลัดสั้นตรงดี จนหนูมีความเห็นว่าหยุดแค่ตรงนี้น่าจะพอแล้ว ไม่ต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีกหรอก ไม่ทราบหนูคิดถูกหรือเปล่า ว่าแค่อ่านบล็อกของคุณหมอก็น่าจะได้ความรู้ธรรมมากและพอเพียงแล้ว เป็นความคิดที่คับแคบแบบกบในกะลาหรือเปล่าคะ ……………………………………………………………….. ตอบครับ 1.. ถามว่าศึกษาธรรมะมากแล้ว หยุดแค่หมอสันต์นี้ได้ไหม ก่อนจะตอบคำถามนี้ ผมอุปมาอุปไมยหน่อยนะ ปีใหม่นี้ผมเปิดร้านขายอาหารสามมื้อทุกวันในเวลเนสวีแคร์ที่มวกเหล็กเพื่อให้คนได้มาหัดรับประทานอาหารที่มีแต่พืชไม่มีเนื้อสัตว์ และเพื่อให้คนที่มาทานอาหารได้ความรู้เกี่ยวกับอาหารพืชอย่างลึกซึ้ง ผมจึงให้นักโภชนาการวางแผนจัดทำเมนูที่ให้รายละเอียดของพืชที่นำมาประกอบอาหารแต่ละเมนู คราวนี้สมมุติติ๊งต่างว่ามีลูกค้าคนหนึ่งเดินเข้ามาในร้าน นั่งศึกษาเมนูอาหารทุกเมนูอย่างละเอียดอยู่ครึ่งค่อนวัน

อ่านต่อ
Latest

โอไมครอนเมืองไทย รวดเร็วแต่นุ่มนวล และอาจจบเร็วเกินความคาดหมาย

โอไมครอนขึ้นหัวหาดเมืองไทยตั้งแต่ 26 พย. 64 ค่อยสะสมกำลังจนเพิ่มจำนวนได้เท่าตัว (doubling time) ใน 4 วันตั้งแต่ 7 มค. 65 ซึ่งผมคาดหมายตามอัตราการเพิ่มในอังกฤษและอัฟริกาใต้ว่าเมื่อถึงวันนี้ (18 มค. 65) โอไมครอนจะเพิ่มได้วันละหนึ่งเท่าตัวจนเข้าแทนที่เดลต้าและระบาดไปทั่วประเทศได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น นั่นคือข้อสันนิษฐานหรือการเดา ส่วนข้อเท็จจริงละเป็นอย่างไร

อ่านต่อ
Latest

สิทธิพิเศษสำหรับแพทย์ นักวิชาชีพ และนักศึกษาด้านสุขภาพ

วันนี้งดตอบคำถามหนึ่งวันเพื่อแจ้งข่าวเรื่องการประชุม Asian Plant Based Nutrition Conference ซึ่งจะมีในวันที่ 22 มค. 65 (เก็บไว้ชมภายหลังแบบ on demand ได้หนึ่งปี) ว่าทาง Plantician Project USA ได้ตกลงตามคำขอของเวลเนสวีแคร์ที่จะให้สิทธิพิเศษแก่แพทย์ พยาบาล

อ่านต่อ
Latest

คำถามเรื่อง Antibody Dependent Enhancement กรณีงานวิจัยโควิดสหรัฐฯ

เรียนคุณหมอครับอ่านบทความ “หลักฐานวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกเรื่องความรุนแรงของโอไมครอนในสหรัฐอเมริกา” ของคุณหมอแล้วก็ตามไปอ่านต้นฉบับจริงของงานวิจัย ผมมีข้อสงสัยอยู่เรื่องหนึ่งครับ คือในตาราง S8 ในช่วงท้ายตารางจะแสดงค่า Odds Ratio ของสถานะวัคซีนของคนไข้ ตามตารางจะเห็นว่าการรับวัคซีนที่มากขึ้น (จำนวนโดสสูง) กลับทำให้ป่วยเข้าโรงพยาบาลมากขึ้น ข้อมูลไปในทางเดียวกันไม่ว่าจะเป็น J&J หรือ mRNA นอกจากนั้น ผมยังลองรวมตัวเลขของคนไข้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มหรือมากกว่า ได้ตัวเลข 67.27% ซึ่งใกล้เคียงกับตัวเลขของการรับวัคซีนของรัฐแคลิฟอร์เนียที่ 67.1% ก็เลยเกิดข้อสงสัยครับว่ากรณี Omicron การกลายพันธุ์ของ S Protein จะทำให้วัคซีนไม่ได้ผลอีกต่อไป ทั้งอาจจะทำให้เกิด Antibody

อ่านต่อ
Latest

หลักฐานวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกเรื่องความรุนแรงของโอไมครอนในสหรัฐอเมริกา

ความกลัวโอไมครอนทั่วโลกส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีการแพร่ข่าวเรื่องความรุนแรงของโรคนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาในประเด็นต่างๆเช่น การที่ยอดผู้ป่วยถูกแอดมิทไว้รักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น การตายเพิ่มขึ้น เด็กป่วยมากกว่าผู้ใหญ่และตายมากกว่าผู้ใหญ่ เป็นต้น ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงแค่ข่าว ไม่ใช่หลักฐานวิทยาศาสตร์ แต่ตอนนี้หลักฐานวิทยาศาสตร์ของจริงออกมาแล้ว เป็นงานวิจัยที่แคลิฟอร์เนียซึ่งสปอนเซอร์โดยศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐฯ (CDC) มีศูนย์ประสานงานการวิจัยอยู่ที่ยูซี.เบอร์คเลย์ ซึ่งผมขอสรุปผลให้ฟังดังนี้ งานวิจัยนี้ทำกับผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอนที่ยืนยืนการตรวจด้วยเทคนิค SGTF (S gene target failure) ทำเฉพาะกับผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลจำนวนรวม 52,297

อ่านต่อ