Latest

รายละเอียด โปรแกรมพลิกผันโรคด้วยตัวเอง (RDฺํ – Reversing Disease, by yourself)

คอนเซ็พท์ของโปรแกรม RD Camp

เพื่อเปิดทางเลือกให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ไขมัน อ้วน อัมพาต) สามารถเปลี่ยนแนวทางการรักษาโรคจากแนวเดิมที่ต้องพึ่งการทำผ่าตัด บอลลูน หรือใช้ยา มาใช้แนวทางดูแลตนเองในเรื่องการปรับอาหาร การเริ่มต้นออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการมีกลุ่มเพื่อนหัวอกเดียวกันเกื้อกูลกันและกัน จนสามารถมีชีวิตปกติอยู่ได้โดยไม่ต้องบอลลูนหรือผ่าตัด และสามารถเลิกหรือลดยาลงจนเหลือน้อยที่สุด โดยใน 1 ปีแรกของการเปลี่ยนแนวทางนี้จะมี นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ เป็นทั้งแพทย์ประจำตัว และเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแนะนำ ผ่านการฝึกทักษะเข้มข้นแบบเข้าค่ายกินนอน และการติดตามผลต่อเนื่องผ่านโทรศัพท์ อีเมล และการประชุม “กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน” หลังจากครบหนึ่งปีแล้วก็ยังจะติดตามดูตัวชี้วัดและช่วยเหลือกันต่อไปแบบห่างๆ พร้อมไปกับการเก็บข้อมูลตีพิมพ์เผยแพร่เป็นผลวิจัยวิทยาศาสตร์ให้คนป่วยคนอื่นๆนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองในวงกว้างต่อไป

     ใช้วิธีการแพทย์แบบอิงหลักฐาน (Evidence Based Medicine)

     วิธีการที่ใช้ในการพลิกผันโรคด้วยตัวเอง เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบัน ที่กลั่นเอามาเฉพาะหลักฐานระดับเชื่อถือได้สูงตามหลักการจัดชั้นของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระหลักของวิธีการมี 5 ประเด็น คือ

     1. การเปลี่ยนอาหารมาเป็นอาหารแบบพืชเป็นหลัก ที่ไขมันต่ำและไม่ขัดสี (plant based, low fat, whole food)
   
     2. การออกกำลังกายให้ถึงระดับมาตรฐานแนะนำสากล ทั้งแบบแอโรบิก แบบฝึกกล้ามเนื้อ และแบบเสริมการทรงตัว

     3. การจัดการความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะกับวัยและความถนัด เช่น การฝึกสติเพื่อลดความเครียด (MBSR) การรำมวยจีน (Tai Chi) การฝึกโยคะ เป็นต้น

     4. การร่วมกลุ่มเพื่อนหัวอกเดียวกันเกื้อกูลกัน

     5. กระบวนการปรับเปลี่ยนตนเอง (self management) หรือ Good Health By Yourself

     ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงตนเอง

     โครงการนี้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงตนเอง (Stage of Change Model) ซึ่งมีลำดับดังนี้

     1. ขั้นตอนการรับทราบข้อมูลความจริง เป็นการเรียนรู้วิธีวิเคราะห์ชั้นและความน่าเชื่อถือของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เผยแพร่อยู่มากมายดกดื่น แล้วนำทักษะการวิเคราะห์หลักฐานนั้นมารับทราบความจริงในแง่มุมต่างๆเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ

     2. ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกเอง เป็นการเปิดช่วง (spectrum) ของการปรับพฤติกรรมสุขภาพไว้ให้กว้าง ผู้ป่วยสามารถเลือกได้ตั้งแต่จะค่อยๆปรับตัวไปทีละนิด หรือจะปรับตัวแบบมากๆทันที โดยผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเองหลังจากรับรู้ความจริงทางวิทยาศาสตร์ว่าทำแบบไหนผลจะเป็นอย่างไรแล้ว

     3. ขั้นตอนสร้างทักษะ เป็นการเรียนรู้ด้วยวิธีลงมือทำ เพื่อให้เกิดทักษะที่จะเอาไปทำต่อเองได้ ทั้งในเรื่องการกินอาหาร การทำอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การปฏิสัมพันธ์กันเชิงเพื่อนช่วยเพื่อน

     4. ขั้นตอนติดตาม เป็นระยะหลังจากที่ทุกคนมีทักษะที่จะดูแลตนเองได้แล้ว และกลับไปใช้ชีวิตปกติที่บ้านแล้ว เป็นการติดตามกระตุ้นไม่ให้หมดแรงกลางคัน ผ่านกลไกการสื่อสารกันทางโทรศัพท์ อีเมลทุกเดือน โดยมีแพทย์ประจำตัวและพยาบาลประจำตัวเป็นศูนย์กลาง มีระบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นกลไกเสริม มีระบบฐานข้อมูลติดตามตัวชี้วัดรายบุคคลที่เข้าถึงได้ทางอินเตอร์เน็ทเป็นเครื่องมือ โดยขั้นตอนนี้จะทำไปอย่างต่อเนื่องตลอดไป แม้จะครบกำหนดโปรแกรมหนึ่งปีแล้ว

     แผนกิจกรรมและตารางเวลา

1. การลงทะเบียนเข้าโปรแกรม (Registration) แค้มป์ RD2 (เข้าแค้มป์ครั้งแรก 5-7 สค. 59)

     ผู้สนใจเข้าร่วมโปรแกรม สมัครลงทะเบียนไว้ได้ที่คุณหมอสมวงศ์ (086 8882521) หรือที่คุณตู่ (086 9858628) หรือสมัครทางอีเมลที่ somwong10@gmail.com หรือ chaiyodsilp@gmail.com การรับเข้าโปรแกรมใช้หลักจองก่อนได้ก่อน เต็ม (20 คน) แล้วปิด

     กรณีสมัครมาช้าและรุ่นที่ 2 เต็มเสียก่อน หากยังสนใจเข้าโปรแกรมอาจลงชื่อไว้จองเข้าโปรแกรมรุ่นถัดไปได้ ทั้งนี้ยังไม่ได้กำหนดว่ารุ่นต่อไปจะเปิดเมื่อใด

     โปรแกรมนี้รับเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ไขมัน อ้วน อัมพาต โดยรับทุกระยะความหนักเบาของโรค กรณีที่อายุมากหรือมีอาการมากที่ตามปกติต้องมีผู้ดูแลประจำตัวอยู่แล้ว ต้องให้ผู้ดูแลมาลงทะเบียนเข้าคอร์สด้วย

     แม้ว่าผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้จะมี นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ เป็นแพทย์ประจำตัว แต่ผู้ป่วยไม่ต้องเลิกจากแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลกันมาแต่เดิม เพราะนพ.สันต์จะทำหน้าที่เป็นแพทย์ประจำครอบครัว (family physician) และจะประสานเชื่อมโยงกับแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลผู้สมัครมาแต่เดิมให้ดูแลต่อไปในลักษณะการดูแลร่วมกัน

     ผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้ไม่จำเป็นต้องยกเลิกยาหรือการรักษาที่ตนเองได้มาแต่เดิมโดยทันทีในขณะที่ทดลองรักษาด้วยวิธีดูแลตนเอง เพราะการรักษาโรคตามโปรแกรมนี้ใช้หลักวิชาการแพทย์แผนปัจจุบันเช่นเดียวกันการรักษาในโรงพยาบาล เพียงแต่มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย จึงสามารถทำคู่ขนานไปกับการรักษาในโรงพยาบาลได้ เมื่อผู้ป่วยดูแลตนเองได้ดีขึ้น ตัวชี้วัดสุขภาพจะค่อยๆบ่งชี้ว่าความจำเป็นที่จะต้องพึ่งการรักษาด้วยยาในโรงพยาบาลจะลดลงไปเองโดยอัตโนมัติจนสามารถเลิกยาได้ในที่สุด
  
     ผู้สมัครจะต้องชำระค่าลงทะเบียนสำหรับตลอดคอร์ส (หนึ่งปี) คนละ 25,000 บาท ค่าลงทะเบียนนี้รวมถึงใช้จ่ายในการเข้าแค้มป์กินนอนรวม 3 ครั้งตลอดหนึ่งปี แต่ละครั้งครอบคลุมถึงค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าวิทยากร ค่าอุปกรณ์การฝึกทักษะ ค่าตรวจร่างกาย ค่าใช้จ่ายในการติดตามโดยแพทย์และพยาบาลเมื่อออกจากแค้มป์กลับไปอยู่บ้าน ค่าบริการฐานข้อมูลติดตามตัวชี้วัดทางอินเตอร์เน็ท เป็นต้น แต่ไม่ครอบคลุมถึงค่าเดินทางไปและกลับระหว่างบ้านกับแค้มป์ (ผู้ป่วยไปเองกลับเอง) ไม่ครอบคลุมค่ายาและค่ารักษาพยาบาลส่วนบุคคลใดๆทั้งสิ้น

     กรณีเป็นผู้ดูแลหรือ caregiver ก็ต้องลงทะเบียนเรียนเหมือนผู้ป่วยทุกอย่างแต่ได้ส่วนลด 20% เพราะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนการติดตามดูหลังเข้าแค้มป์

2. ระยะก่อนเริ่มโปรแกรม (Pre-program preparation) 

     ผู้ป่วยทุกท่านที่ได้รับเข้าโปรแกรมแล้ว จะต้องจัดส่งข้อมูลโรคของตนมาให้แพทย์วิเคราะห์ทางอีเมล chaiyodsilp@gmail.com (ที่เดียวเท่านั้น) ก่อนที่จะเริ่มเปิดแค้มป์ โดยอย่างน้อยต้องส่งข้อมูลพื้นฐานซึ่งจะใช้เป็นตัวชี้วัดในโปรแกรมต่อไปนี้มาด้วย คือ

2.1 วันเดือนปีเกิด
2.2 เพศ
2.3 ส่วนสูง
2.4 น้ำหนัก
2.5 ความดันเลือด
2.6 น้ำตาลในเลือด (FBS) หรือน้ำตาลสะสม (HbA1C)
2.7 โคเลสเตอรอลรวม
2.8 ไตรกลีเซอไรด์
2.9 ไขมันดี (HDL)
2.10 ไขมันเลว (LDL)
2.11 ตัวชี้วัดการทำงานของไต (eGFR หรือ Cr)
2.12 เอ็นไซม์แสดงการทำงานของตับ (SGPT)
2.13 การวินิจฉัย (ชื่อ) โรคทุกโรคที่รักษาอยู่ในปัจจบัน และอาการป่วยทุกอาการที่มีในปัจจุบัน
2.14 ยาทุกตัวที่กินอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งขนาด และวิธีกิน
2.15 ผลการตรวจจำเพาะต่างๆ ถ้ามี เช่น ผลการตรวจเลือดอื่นๆ ภาพเอ็กซเรย์ปอด ผลตรวจสมรรถนะหัวใจ (EST) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ผลการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยคอมพิวเตอร์ (CTA) ผลการตรวจสวนหัวใจ (CAG) ผลการตรวจผลการตรวจ CT สมอง โดยกรณีเป็นภาพหากส่งเป็นไฟล์ดิจิตอลได้ก็จะเป็นพระคุณ แต่หากส่งไม่ได้จะเอาโทรศัพท์ถ่ายแล้วส่งไฟล์รูปมาก็ได้ กรณีเป็นใบรายงานผลให้เอาโทรศัพท์ถ่ายใบรายงานแล้วส่งไฟล์มาก็ได้
2.16 คำบอกเล่าลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน เน้นที่
(1) การบรรยายลักษณะอาหารที่กินแต่ละมื้อทุกมื้อ
(2) การออกกำลังกายที่ทำในแต่ละวัน
(3) วิธีจัดการความเครียดที่ใช้อยู่ประจำ
(4) ความกังวล (concern) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ หากมีอยู่ในใจก็ให้แจ้งมาให้หมอสันต์ทราบด้วย
 
3. วิธีลงทะเบียนเข้าเรียน

1. แจ้งสำรองที่เรียน

     1.1 ทางโทรศัพท์ที่ พญ.สมวงศ์ ใจยอดศิลป์ โทร. 086 8882521 หรือคุณตู่ (ฐานวีร์ พีรกุล) โทร. 081 900 8321 หรือ 086 985 8628
     1.2 ทางอีเมล somwong10@gmail.com หรือ thannawee_pur@phyathai.com

2. ชำระเงินค่าลงทะเบียน

     โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขาเมืองทองธานี เลขบัญชี 931 0 06792 2 ชื่อบัญชี นายสันต์ ใจยอดศิลป์

3. ยืนยันการรับลงทะเบียน

     ส่งภาพถ่ายสลิปใบโอนเงินที่เขียนชื่อของท่านด้วยปากกาทับไว้อย่างชัดเจนบนใบสลิปนั้นด้วย ส่งไปยังพญ.สมวงศ์ทางอีเมล somwong10@gmail.com  ในกรณีไม่สะดวกในการส่งภาพถ่าย จะโทรศัพท์บอกกับพญ.สมวงศ์ที่หมายเลข 086 8882521 โดยตรงด้วยตนเองก็ได้

     ขอความกรุณาอย่าส่งใบสลิปมาโดยไม่เขียนชื่อว่าเป็นเงินของใคร เพราะทางเวลเนสวีแคร์ได้รับใบสลิปแล้วก็ยังไม่รู้จะลงทะเบียนในชื่อใครอยู่ดี

     การลงทะเบียนจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อทางเวลเนสวีแคร์ได้รับทั้งเงินและชื่อผู้ส่งเงินแล้วเท่านั้น

4. การคืนเงินค่าลงทะเบียนกรณีไปเข้าคอร์สไม่ได้

     ในกรณีที่คอร์สนั้นเปิดสอนแบบขาดทุน จะไม่คืนค่าลงทะเบียนที่ชำระแล้วให้เลย (0%)

     ในกรณีที่คอร์สนั้นเปิดสอนโดยมีกำไร จะคืนเงินให้บางส่วนโดยหักค่าใช้จ่ายที่จ่ายล่วงหน้าในการเตรียมคอร์สก่อน ทั้งนี้ทางเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์สงวนสิทธิ์ที่จะกำหนดยอดเงินที่จะต้องคืนแต่เพียงข้างเดียว

4. แค้มป์เปิดโปรแกรม (Kick-off camping) (3 วัน 2 คืน)

สถานที่และแผนที่เดินทางไป ..(รีสอร์ทในมวกเหล็ก-เขาใหญ๋ กำลังคัดเลือก ยังไม่ทราบชื่อ จะแจ้งภายหลัง)

หลักสูตร (Course Syllabus)
หลักสูตร: แค้มป์เปิดโปรแกรมพลิกผันโรคด้วยตัวคุณ
: Reversing Disease By Yourself (RD1)
คอนเซ็พท์ของแค้มป์
Self management for NCDs
ตัวผู้ป่วยคือผู้ที่สำคัญที่สุดที่จะจัดการโรคเรื้อรังของตนเองให้หายได้
วัตถุประสงค์
1.       ในด้านความรู้ คาดหวังให้ผู้ป่วยรู้สิ่งต่อไปนี้
a.       รู้เรื่องโรคของตัวเอง ทั้งพยาธิกำเนิด พยาธิวิทยา การรักษา
b.       รู้จักตัวชี้วัดที่ใช้เฝ้าระวังการดำเนินของโรค
c.       รู้จักยาทุกตัวที่ตนเองได้รับ ทั้งชื่อ ขนาด วิธีกิน กลุ่มยา ฤทธิ์ยา และผลข้างเคียง
d.       รู้ว่าตนเองสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ตนเองหายจากโรค
                                                               i.      ในแง่ของโภชนาการ รู้ประโยชน์ของอาหารพืชที่ไม่ผ่านการสกัดขัดสี (plant based, whole food) รู้โทษของเนื้อแดงและเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอม
                                                             ii.      ในแง่ของการออกกำลังกาย รู้ประโยชน์และวิธีออกกำลังกายทั้งสามแบบ
                                                            iii.      ในแง่ของการจัดการความเครียด รู้ประโยชน์และวิธีจัดการความเครียดด้วยเทคนิค MBT
                                                           iv.      ในแง่ของการร่วมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน รู้ประโยชน์และพลังของกลุ่มและรู้วิธีทำกิจกรรมในกลุ่ม
2.       ในด้านทักษะ คาดหวังให้ผู้ป่วยสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ด้วยตนเอง
a.       บริหารจัดการโรคของตนเองได้โดยใช้ตัวชี้วัดพื้นฐานเจ็ดตัว (1) น้ำหนัก (2) ความดันเลือด (3) ไขมัน LDL (4) น้ำตาลในเลือด (5) ปริมาณผักผลไม้ (6) เวลาออกกำลังกาย (7) อาการผิดปกติ (สามอย่างคือ เจ็บหน้าอก เปลี้ยล้า หน้ามืด)
b.       เลือกอาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปในตลาดที่เป็นอาหารพืชแบบไม่สกัดไม่ขัดสีได้
c.       ผัดทอดอาหารโดยใช้น้ำหรือใช้ลมร้อนแทนน้ำมันได้
d.       อบถั่วและนัทไว้เป็นอาหารว่างเองได้
e.       ทำเครื่องดื่มจากผักผลไม้โดยไม่ทิ้งกากด้วยตนเองได้
f.        ประเมินสมรรถนะร่างกายของตนเองด้วยการสังเกตอัตราการหายใจ การนับชีพจรจากเครื่องช่วยนับ และการทำ One milk walk test ให้ตัวเองได้
g.       ออกกำลังกายแบบแอโรบิกได้ด้วยตนเอง อย่างน้อย 1 วิธี (เดินเร็ว)
h.       ออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ท่ากายบริหาร ดัมเบล สายยืด และกระบอง ได้ด้วยตนเอง
i.         ออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัวได้ด้วยตนเอง
j.         สามารถกำกับดูแลท่าร่าง (posture) ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
k.       ผ่อนคลายความเครียดเฉียบพลันด้วยเทคนิค relax breathing ได้
l.         จัดการความเครียดในชีวิตประจำวันด้วยการฝึกสติแบบ MBSR ได้
m.     สามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ทั้งในเชิงเป็นผู้เปิดแชร์ความรู้สึกและเป็นผู้ให้การพยุงได้
3.       ในด้านเจตคติ คาดหวังให้ผู้ป่วยเกิดเจตคติต่อไปนี้
a.       มีความมั่นใจว่าตนเองมีอำนาจ (empowered) ที่จะดลบันดาลให้โรคของตัวเองหายได้
b.       มีความมุ่งมั่นในพันธะสัญญา (commitment) ที่จะเป็นผู้ดูแลตนเองไม่ให้เป็นภาระแก่คนอื่น
c.       มีความอยาก (motivated) ที่จะมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข
Learning Experience Time Table
ตารางการจัดประสบการณ์เรียนรู้
วันแรก ศุกร์

9.0010.00
Registration
ลงทะเบียนเข้าแค้มป์ เช็คอินเข้าห้องพัก
– วัดดัชนีมวลกาย
– วัดความดันเลือด
– ตรวจร่างกายโดยแพทย์
– อาหารว่าง
10.00 12.00
Workshop1: Disease management planning
– เรียนรู้การจัดการโรค จากแผนจัดการโรคของสมาชิกทีละคน
12.00 13.00
Lunch 
– พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 13.15
Workshop2Camp planning
– สรุปภาพรวมของ 3 วันในแค้มป์ให้สมาชิกปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดปลีกย่อยของกิจกรรมการเรียนรู้ในแค้มป์ร่วมกัน
13.1513.45
Workshop3 Roadmap to mindfulness
เรียนรู้หลักฝึกสติลดความเครียดในชีวิตประจำวันแบบสิบขั้นตอน และทดลองปฏิบัติ
13.4514.15
Workshop4Muscle relaxation
– ฝึกปฏิบัติการจัดการความเครียดด้วยเทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
14.1515.15
Classroom1 Artherosclerosis, pathophysiology, symptomatology
-เรียนรู้โรคหลอดเลือด, พยาธิ-สรีรวิทยา, อาการวิทยา, ทางเลือกในการรักษา
15.15 15.30
Tea break
– พักดื่มน้ำชา
15.30 16.00
Workshop4Blood pressure measurement 
– ฝึกปฏิบัติ วิธีวัด บันทึก และวิเคราะห์ความดันเลือดอย่างถูกต้อง
16.00 16.30
Classroom2 Self management for hypertension
– เรียนรู้วิธีจัดการโรคความดันเลือดสูงในส่วนที่ทำได้ด้วยตนเอง
16.30 17.15
Workshop5 Group support dynamic
ฝึกปฏิบัติการสร้างพลังขับเคลื่อนกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน โดยฝึกใช้กลไก (1) การแบ่งปันความรู้สึกเฉพาะ (2) การสร้างความบันดาลใจให้กัน ผ่านการเป็นแม่แบบและการแผ่เมตตา (3) การเรียนความรู้และทักษะใหม่ (4) การปลูกสำนึกว่าตัวเองมีอำนาจดูแลตัวเอง (5) การเป็นสถาบันทางใจหรือเป็น “พวกเดียวกัน” (pact instinct)
17.1518.15
Workshop6 Aerobic exercise by brisk walking 
– เดินชมทิวทัศน์ยามเย็นด้วยกัน ฝึกใช้หลักท่าร่างและหลักการหายใจ แล้วฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายแบบแอโรบิกด้วยวิธีเดินเร็ว
18.15 20.00
Dinner 
– รับประทานอาหารเย็น
20.00 06.00
Personal time
– พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่สอง (เสาร์)

6.30 7.15
Workshop7 Fitness assessment with one mile walk test and selfmonitored exercise.
– ฝึกประเมินสมรรถนะร่างกายตนเองด้วยวิธี One mile walk test ควบกับการฝึกทดสอบสรรถนะของหัวใจด้วยตนเอง
7.15 8.00
Workshop8. Strength training using steps.
ฝึกออกกำลังกายแบบสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
8.00 9.30
Breakfast and personal time
– รับประทานอาหารเช้า อาบน้ำ และพักผ่อนส่วนตัว
9.3010.45
Classroom3 Plantbased, whole food
บรรยายเรื่องโภชนาการที่มีพืชเป็นหลัก ไม่สกัด ไม่ขัดสี
10.4511.00
Tea break & Workshop9: Mindful eating
พักรับประทานน้ำชา อาหารว่าง และฝึกปฏิบัติวิธีกินอย่างมีสติ
11.00 13.00
Workshop10 Plantbased, no oil cooking class
ชั้นเรียนลงมือทำอาหารด้วยตนเองแบบพืชเป็นหลัก โดยไม่ใช้น้ำมัน และรับประทานอาหารกลางวันที่ตนเองทำ
13.0014.00
Workshop11Supermarket shopping 
– ฝึกปฏิบัติการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปในตลาด
14.00  14.30
Classroom4 ANS and cardiac arrythmia 
บรรยายเรื่องระบบประสาทอัตโนมัติและความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ 
14.3016.00
Workshop12Hands only CPR & AED 
– ฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตด้วยมืออย่างเดียว และการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าอัตโนมัติ โดยพักดื่มน้ำชาและรับประทานผลไม้ไปด้วยในขณะปฏิบัติ
16.0017.00
Workshop13Mindfulness based stress reduction (MBSR)
– ฝึกสติเพื่อลดความเครียดด้วยวิธีนั่งทำสมาธิตามแบบ BMSR
17.00 18.00
Workshop14Muscle strength training using dumbbell and elastic band
– ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ดัมเบลและสายยืด
18.00 20.00
Dinner 
– รับประทานอาหารเย็น
20.00 06.00
Personal time
– พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่สาม  (อาทิตย์ )


6.30 7.00
Workshop15 Mindfulness movement exercise (Tai Chi)
– ฝึกสติด้วยวิธีตามรู้การเคลื่อนไหวแบบ Tai Chi
7.00 7.30
Workshop16 Core muscle training
– ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อพยุงกระดูกสันหลัง
7.30 8.00
Workshop17Balance exercise
– ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายเพื่อเสริมการทรงตัว
8.00 9.30
Breakfast and personal time
– รับประทานอาหารเช้าและทำกิจส่วนตัว
9.3010.00
Classroom5 Heart failure
โรคหัวใจล้มเหลว และการจัดการโรคด้วยตนเอง
10.0010.30
Classroom6 Diabetes
โรคเบาหวานและการจัดการโรคด้วยตนเอง
10.3010.45
Tea break
พักรับประทานน้ำชาและผลไม้
10.45 11.30
Classroom7 Weight loss
ประเด็นปฏิบัติสำหรับการลดน้ำหนักด้วยอาหารพืชเป็นหลักไม่สกัดไม่ข้ดสี
11.30 12.30
Workshop18: RD1 Group Support meeting
การประชุมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน RD1 ครั้งแรก แชร์ความรู้สึก ข้อเสนอ จากทุกคน เลือกผู้ประสานงาน วางแผนสื่อสาร และลงวันนัดหมายพบกันอีกสองครั้งในปี 2559
12.30 13.30
Lunch 
– พักรับประทานอาหารกลางวันที่ตนเองทำ
– เข้าชื่อจองเวลาปรึกษาปัญหาสุขภาพส่วนบุคคลก่อนกลับบ้าน
13.30 13.15
Camp Closure
– ถ่ายรูป ปิดแค้มป์อย่างเป็นทางการ
13.1517.00
Personal medical Consultation
– เวลาสำรองเผื่อไว้สำหรับการปรึกษาปัญหาสุขภาพรายคน (เพื่อนร่วมแค้มป์ที่ไม่รีบกลับ อยู่ฟังคำแนะนำด้วยได้)
-สำหรับปัญหาที่เป็นความลับ ให้รอปรึกษาหลังจบการปรึกษาในห้อง

4. การติดตามผลที่บ้านระหว่างอยู่ในโปรแกรม (In program home call)(11 มค. 59 – 6 มค. 60)

     4.1 แพทย์หรือพยาบาลประจำตัวผู้ป่วย จะโทรศัพท์หรืออีเมลติดตามรับทราบดัชนีสุขภาพกับผู้ป่่วยแต่ละคนโดยตรงเดือนละ 1 ครั้งตามตารางนัดหมายล่วงหน้าตลอดปี
     ในกรณีที่มีปัญหาเฉพาะเร่งด่วน อาจมีการนัดหมายให้เข้ามาฝึกฝนทักษะเพิ่มเติมพิเศษเฉพาะคนเป็นกรณีไป กรณีที่เป็นปัญหาไม่เร่งด่วน จะเก็บรวบรวมไว้เพื่อเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมในแค้มป์ติดตามผล
     4.2 ผู้ป่วยแต่ละคนจะติดต่อสื่อสารกันเองในกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนผ่านทางไลน์ โทรศัพท์ และอีเมล

5. แค้มป์ติดตามผลกลางปี (Mid year camp) (2 วัน 1 คืน)

     ผู้ป่วยทุกคนจะต้องกลับมาเข้าแค้มป์ติดตามกลางปี (สองวันหนึ่งคืน) เพื่อซ่อมแซมฟื้นฟูทักษะที่ยังบกพร่องและปรับแก้สาเหตุที่ยังทำให้จัดการโรคของตนเองไม่สำเร็จ รายละเอียดของแค้มติดตามกลางปีจะออกแบบหลังจากที่ได้ประเมินผลการติดตามที่บ้านได้อย่างน้อย 4 เดือนแล้ว

6. แค้มป์ก่อนปิดโปรแกรม (Final camp)(2 วัน 1 คืน)

     ผู้ป่วยทุกคนจะต้องกลับมาเข้าแค้มป์ก่อนปิดโปรแกรม (สองวันหนึ่งคืน) เพื่อประเมินตัวชี้วัดเป็นครั้งสุดท้ายว่ายังมีใครที่ยังจัดการโรคของตนเองไม่สำเร็จเพื่อจะได้ออกแบบวิธีจัดการโรคเฉพาะคนหลังปิดโปรแกรมไปแล้ว และเพื่อให้ทุกคนได้ทบทวนและฝึกฝนทักษะที่สำคัญซ้ำอีกก่อนปิดโปรแกรม

7. ความปลอดภัยขณะเข้าแค้มป์

     ผู้ป่วยที่มาเข้าโปรแกรมนี้ส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยหนัก บ้างทำผ่าตัดบายพาสมาแล้ว บ้างทำบอลลูนมาแล้วคนละครั้งสองครั้ง บ้างแค่เดินสองสามก้าวก็หอบหรือเจ็บหน้าอกแล้ว ความกังวลเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องธรรมดา ตัวหมอสันต์เองเป็นหมอผ่าตัดหัวใจมาก่อน จึงละเอียดรอบคอบและไม่ประมาทในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย การเตรียมการด้านความปลอดภัยขณะเข้าแค้มป์ทุกครั้งรวมไปถึงการมีอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินได้เทียบเท่ากับห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลทั่วไป รวมทั้งขีดความสามารถที่จะเปิดหลอดเลือดให้น้ำเกลือหรือยาทางหลอดเลือดดำได้ทันที ขีดความสามารถที่จะใส่ท่อช่วยหายใจและช่วยการหายใจในภาวะฉุกเฉิน นอกจากนั้นยังมีขีดความสามารถที่จะช็อกไฟฟ้าหัวใจในกรณีฉุกเฉิน โดยมีแพทย์เวชบำบัดวิกฤติ (emergency medical physician) และพยาบาลดูแลผู้ป่วยวิกฤติอยู่ประจำตลอดการฝึกอบรมอยู่ในแค้มป์

     ที่เล่าทั้งหมดนี้ให้ฟังอาจจะมีผลเสียทำให้เข้าใจผิดว่าการจะปรับวิถีชีวิตเพื่อพลิกผันโรคให้ตัวเองนั้นเป็นเรื่องอันตราย ความเป็นจริงไม่ใช่เลย การปรับการใช้ชีวิตทั้งอาหารและการออกกำลังกายเพื่อดูแลตัวเองให้ได้นั้นเป็นกลไกรักษาโรคตามธรรมชาติ มีอันตรายน้อยกว่าการรักษาด้วยยา บอลลูน หรือผ่าตัดในโรงพยาบาลอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่หมอสันต์จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยในแค้มป์ให้มากเกินความจำเป็นไว้สักหน่อย เพียงเพื่อให้ผู้ป่วยหนัก ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการเข้าแค้มป์ กล้ามาเข้าแค้มป์เท่านั้นเอง

8. วันสิ้นสุดโปรแกรมคือวันที่ 21 มค. 60

9. การติดตามหลังปิดโปรแกรม (Post program follow up)

     8.1 เมื่อปิดโปรแกรมไปแล้ว ศิษย์เก่าทุกคนจะยังคงเป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนซึ่งจะยังติดต่อสื่อสารและนัดหมายพบปะช่วยเหลือกัน และพบกันตามอัธยาศัย
     8.2 ศิษย์เก่าแต่ละคนจะส่งผลดัชนีสุขภาพมาเข้าฐานข้อมูลของโปรแกรมปีละครั้ง
     8.3 แพทย์หรือพยาบาลประจำตัวผู้ป่วยจะติดต่อพูดคุยทางโทรศัพท์หรืออีเมลกับศิษย์เก่าปีละครั้ง
     8.4 ศิษย๋เก่าสามารถรับข่าวสารของโปรแกรมได้จากจดหมายข่าว ซึ่งจะส่งไปให้ศิษย์เก่าเดือนละครั้ง
     8.5 ในกรณีที่มีปัญหา ศิษย์เก่าสามารถโทรศัพท์หรือเขียนอีเมลมาหาแพทย์หรือพยาบาลประจำตัวได้ทันที
     8.5 หลังปิดโปรแกรมไปแล้ว ศิษย์เก่าไม่ต้องชำระค่าลงทะเบียนใดๆอีก ยกเว้นกรณีที่สมัครมาเข้าแค้มป์ทบทวนทักษะซ้ำ หรือเข้าแค้มป์กิจกรรมต่างๆที่ศูนย์เวลเนสวีแคร์จัดขึ้น ซึ่งต้องจ่ายค่าลงทะเบียนในอัตราที่กำหนดไว้สำหรับศิษย์เก่า

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์