Latest

สรุปผลวิจัยอาหารไทยสุขภาพ ออกมาแล้ว

(ภาพวันนี้ / หญ้าริมรั้วของเพื่อนบ้านหลังใหม่ในมวกเหล็กวาลเลย์)

https://fb.watch/t3TnA48AJv

งานวิจัยอาหารไทยสุขภาพซึ่งผมเป็นหัวหน้าคณะวิจัย ได้ทำวิจัยกันมาในช่วงเกือบปีที่ผ่านมา ใช้เงินไปเกือบห้าล้านบาท ได้ผลสรุปออกมาแล้ว

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) ซึ่งเป็นหลักฐานวิจัยระดับสูงที่สุดที่จะออกแบบทำได้ ชื่อว่างานวิจัยอาหารไทยสุขภาพต่อตัวชี้วัดสุขภาพ

ที่มาของงานวิจัยนี้ก็คือว่าดัชนีสุขภาพของคนไทยแย่ลงอย่างรวดเร็ว งานวิจัยในคนไทยทุกภาพจำนวนร่วม 15000 คนพบว่า 67% มีไขมันในเลือดสูง แม้งานวิจัยในหมู่แพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก็พบว่า 68% เป็นไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าอาหารที่คนไทยกินอยู่ จะทำให้มันเป็นอาหารสุขภาพได้ไหม โดยได้นิยามอาหารไทยสุขภาพขึ้นมาว่าคืออาหารที่ใช้เครื่องปรุงไทยได้ทุกอย่างรวมทั้งกะปิ น้ำปลา ปลาร้า กะทิ ผงชูรส ใช้ได้หมด แต่ไม่ใช้เนื้อสัตว์เป็นวัตถุดิบอาหารและไม่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารหรือใช้เพียงแต่น้อย แล้วสุ่มแบ่งอาสาสมัครซึ่งเป็นคนไทยทั่วทุกภาคที่มีดัชนีสุขภาพผิดปกติ คือ น้ำหนักเกิน หรือไขมันในเลือดสูง หรือความดันเลือดสูง หรือเป็นเบาหวานหรือใกล้จะเป็นเบาหวาน จำนวน 62 คน สุ่มแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มทดลอง 30 คนให้กินอาหารไทยสุขภาพ กับกลุ่มควบคุม 32 คนให้กินอาหารไทยสมัยนิยม (อาหารที่กินปกติที่บ้าน) ในกลุ่มทดลองนั้นให้มาเรียนทำอาหารด้วยตนเองที่เวลเนสวีแคร์เป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ก่อนที่จะกลับไปทำอาหารกินเองต่อที่บ้าน ทำวิจัยอยู่นาน 3 เดือน โดยใช้น้ำหนัก ความดัน ไขมัน และปริมาณยาเบาหวานที่ใช้เป็นตัวชี้วัดสำคัญ

ผลวิจัยกลุ่มที่กินอาหารไทยสุขภาพ คนที่น้ำหนักเกิน (BMI>23 kg/m2) ลดน้ำหนักได้เฉลี่ย -3.99 กก. ขณะที่กลุ่มควบคุมมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น +0.43 กก. ที่เป็นความดันเลือดสูงอยู่ก็มีความดันเลือดตัวบนลดลงเฉลี่ย −32 mmHg ขณะที่กลุ่มควบคุมลดลงเฉลี่ย -12 mmHg ที่มีไขมันในเลือดสูงอยู่ก็มีไขมันเลว (LDL) ลดลงเฉลี่ย−34.1 mg/dL ขณะที่กลุ่มควบคุมลด -12.9 mg/dL ทั้งหมดนี้เป็นความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ ในกลุ่มกินอาหารไทยสุขภาพ ผู้ที่ใช้ยาเบาหวานอยู่ก็ลดยากินลงเหลืออย่างเดียว และที่ฉีดยาอยู่ก็ลดยาฉีดลงได้ 30%

สรุปว่าอาหารไทยสุขภาพซึ่งใช้เครื่องปรุงไทยได้ทุกอย่างแต่ไม่ใช้เนื้อสัตว์เป็นวัตถุดิบอาหาร สามารถลดตัวชี้วัดสุขภาพที่บ่งชี้ถึงการเป็นโรคเรื้อรังลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งน้ำหนัก ความดัน ไขมัน และการใช้ยาเบาหวานกรณีเป็นเบาหวานอยู่

บนพืันฐานของผลวิจัยเบื้องต้นนี้ ผมจึงอยากจะเชิญชวนคนไทยทุกคนปรับเปลี่ยนอาหารของตัวเองมาอยู่ในแนวทางอาหารไทยสุขภาพเพื่อป้องกันและพลิกผันโรคเรื้อรังด้วยตนเอง คือใช้เครื่องปรุงไทยได้ไม่จำกัดแต่ลดการใช้เนื้อสัตว์เป็นวัตถุดิบอาหารลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพิ่มการใช้พืชเป็นวัตถุดิบอาหารแทนมากขึ้น

สำหรับท่านที่สนใจจะทำอาหารตาม 88 เมนูที่ใช้ในงานวิจัยนี้สามารถเปิดดูเมนูได้ฟรีที่เว็บไซท์ https://drsant.com/ ผมได้แนบบทคัดย่อของงานวิจัยไว้ท้ายบทความนี้ด้วย ส่วนรายละเอียดทั้งหมดของงานวิจัยนั้นคงต้องรอให้วารสารการแพทย์ที่รับตีพิมพ์งานวิจัยได้ตีพิมพ์งานวิจัยก่อนจึงจะเปิดเผยได้รายละเอียดได้ ซึ่งปกติวารสารจะใช้เวลาตรวจและตีพิมพ์นานประมาณหนึ่งปี

ปล. ผมและคณะผู้วิจัยขอขอบคุณอาสาสมัครที่เข้าร่วมวิจัยทุกท่าน และขอบคุณผู้อุปถัมภ์การวิจัยที่ได้ใช้เงินสนับสนุนการวิจัยนี้เกือบ 5 ล้านบาท

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

……………………………………

Abstract

A randomised clinical trial to compare the Healthy Thai Diet and Conventional Thai Diet on health indices.

Background: Epidemiological studies and randomised controlled trials suggest that dietary patterns emphasising a variety of low-fat, plant-based foods such as vegetarian, Mediterranean, and DASH diets are associated with reduced risk of chronic non-communicable diseases.

Objective: This study compared the effects of a Healthy Thai Diet and a Contemporary Thai Diet on basic health indices, including BMI, blood pressure, plasma lipids, and glycemia. The Healthy Thai Diet is characterised by low-fat, plant-based Thai food, substituting animal products with plant-based ingredients, and includes common Thai seasonings and traditional sauces e.g. fish sauce, shrimp paste, coconut milk.

Design: Individuals exhibiting at least one abnormal health indices (BMI, blood pressure, LDL, FBS) or undergoing treatment for non-communicable diseases were randomly assigned to either a Healthy Thai Diet (HTD; n=30) or a Contemporary Thai Diet (CTD; n=32) for 12 weeks. Health indices were measured at baseline and week 12. Statistical analysis was conducted using paired t-tests for within-group comparisons to assess changes over time, and Student’s t-tests for between-group comparisons to evaluate differences in outcomes between the two groups. 

Results: Significant weight loss occurred within the HTD group (p<0.01) and between groups (−3.03 kg in HTD vs +0.43 kg in CTD, p<0.01). This pattern was also observed in participants with BMI >23 kg/m2 (−3.99 kg in HTD vs +0.04 kg in CTD, p<0.01). Systolic blood pressure decreased significantly within the HTD group (p<0.01) and between groups (−17.4 mmHg in HTD vs -6.3 mmHg in CTD, p=0.042), particularly in those with initial readings ≥140 mmHg (−32 mmHg in HTD vs -12 mmHg in CTD, p=0.015). LDL cholesterol decreased significantly within the HTD group (p<0.01), with a notable reduction in those with LDL ≥130 mg/dL (−34.1 mg/dL in HTD vs -12.9 mg/dL in CTD, p=0.042). Individuals with type 2 diabetes in the HTD group were able to reduce or discontinue medications while maintaining stable glycemic control (baseline FBS 133 mg/dL vs 114 mg/dL at week 12, p=0.3). Additionally, an improvement in eGFR was observed within the HTD group (p=0.03), although this was not significantly different between groups (p=0.05).

Conclusions: The Healthy Thai Diet can significantly improve key health indices in individuals with obesity, hypertension, high LDL cholesterol, and type 2 diabetes.

……………………………………..