Tag: จิตใจ

Latest

การเป็นผู้ดูแลคนป่วยเรื้อรัง (Caregiver)

การเป็นผู้ดูแลคนป่วยเรื้อรัง (Caregiver) นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ผู้ดูแล (Caregiver) การได้มาเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง หรือที่ฝรั่งเรียกว่า caregiver นั้น มักเกิดขึ้นแบบกะทันหัน ส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ที่คนที่เรารักต้องล้มป่วยลงโดยไม่ได้คาดหมาย ผู้ดูแลส่วนใหญ่จึงตกอยู่ในสภาพมือสมัครเล่นที่ต้องมามีความรับผิดชอบแบบล้นฟ้าชนิดไม่รู้ตัว เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ดูแลส่วนหนึ่งเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจากความเป็นมือสมัครเล่นไปเป็นมืออาชีพ คือปรับตัวได้ มีความสุขกับภารกิจใหม่เป็นอย่างดี แต่ผู้ดูแลส่วนใหญ่มักตกอยู่ในสภาพตั้งหลักไม่ทัน ปรับตัวไม่ได้ แม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานหลายปีก็ตาม

อ่านต่อ
Latest

โรคสมองเสื่อม (Dementia)

โรคสมองเสื่อม (Dementia) โรคสมองเสื่อม แบ่งเป็นสองชนิดใหญ่ คือ 1. สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด (vascular dementia) เช่น หลังเกิดอัมพาต หรือกรณีสมองเสื่อมจากหลอดเลือดเล็กๆตีบตัน หรือกรณีสมองเสื่อมจากเนื้อสมองทั้งหมดขาดออกซิเจนเช่นในกรณีช็อกหรือหัวใจหยุดเต้น (Global hypoxic ischemic injury) 2. สมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer

อ่านต่อ
Latest

เด็กติดเกมคอมพิวเตอร์, มุมมองของแพทย์ประจำครอบครัว

ตัวผมนี้เป็นหมอรักษาผู้ใหญ่ อยู่ห่างไกลเหลือเกินกับปัญหาสุขภาพเด็ก แต่เรื่องเด็กติดเกมนี้มันพันมากับพ่อแม่เด็ก ซึ่งเป็นคนไข้ของผม คือการจะรักษาโรคทางกายของพ่อแม่ ก็ต้องไล่เลียงไปถึงปัญหาทางใจด้วย หลายคนมีปัญหาทางใจที่แกะไม่หลุดคือลูกติดเกม ผมก็เลยถูกลากเข้ามาสู่เรื่องเด็กติดเกมด้วยประการฉะนี้ ความที่ไม่มีความรู้ ผมจึงตั้งต้นด้วยการสืบค้นหลักฐานทางการแพทย์ว่าโรค “เด็กติดเกม” นี้เขารักษาอย่างไรกัน แต่น่าเสียใจครับ วงการแพทย์สากลไม่นับปัญหาเด็กติดเกมเป็นปัญหาทางการแพทย์ แม้ในมาตรฐานการวินิจฉัยโรคทางจิตประสาท (DSM) ฉบับใหม่ที่จะนำออกใช้ในปี 2012 ข้อเสนอให้บรรจุให้มีโรค “VDO

อ่านต่อ
Latest

กลัวลูกวัยรุ่นติดยาเสพติด จะทำอย่างไรดี

คุณหมอคะเพื่อนของลูกบอกว่าลูกดิฉันเสพยา ดิฉันตกใจมาก แต่ไหนแต่ไรไม่เคยคิดว่าจะมาเจอกับตัวเอง ไม่มีไอเดียเลยว่ายาเสพติดมันเป็นยังไง มีกี่แบบ มีผลอย่างไรบ้าง จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเสพยาจริง และถ้าจริงดิฉันจะทำอย่างไรดี (สงวนนาม) ตอบ คุณยิงคำถามแบบไม่ยั้งเลยนะครับ ผมจะพยายามตอบให้ครอบคลุมที่ถาม ประเด็นแรก ชนิดของยาเสพติด หากแบ่งตามการออกฤทธิ์ก็มีสามพวกคือ (1) พวกออกฤทธิ์กดประสาท เช่นฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน

อ่านต่อ
Latest

เทคนิคการใช้ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนนิสัยคน

ก่อนหน้านี้มีท่านผู้อ่านบทความของผมเรื่องหลักทฤษฏีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Stage of Change Model) ได้ถามแง่มุมการใช้งานจริงว่ากรณีไหนใช้ได้ใช้ไม่ได้ และผมได้รับปากว่าจะเขียนเล่าประสบการณ์เมื่อนำลงใช้กับคนจริงๆหลายๆคนให้ฟัง ประเด็นสำคัญในการนำหลักทฤษฏีนี้ลงใช้คือต้องแยกสาระของเรื่องออกเป็นสองส่วนก่อน คือ (1) ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงนิสัย (stage of change) (2) กลวิธีที่เลือกใช้เปลียนนินสัย (process of change) โดยผมจะขอว่าไปทีละขั้นตอนดังนี้

อ่านต่อ
จิตวิญญาณ (Spirituality)

หลักทฤษฎีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Transtheoretical หรือ Stage of Change Model)

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย การปรับนิสัยการรับประทานอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพเช่น เลิกแอลกอฮอล์ เลิกบุหรี่ ล้วนเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ เป็นการยากที่จะปลุกพลังใจให้พยายามได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่พยายามแล้วไม่สำเร็จหรือสำเร็จแล้วกลับล้มเหลวใหม่อีกดร.โพรแชสก้าและดร.เวลิเซอร์ ที่มหาวิทยาลัยโรดไอส์แลนด์ ได้เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของคนเลิกบุหรี่โดยวิเคราะห์ประกอบกับทฤษฎีทางจิตบำบัดหลายทฤษฏีแล้วสรุปออกมาเป็นทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง (Transtheoretical หรือ Stage of Change Model) ออกมาเผยแพร่ [1]

อ่านต่อ