Tag: ความเครียด

Latest, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

หมอสันต์เริ่มยอมรับเวชศาสตร์ชลอวัย (Anti-aging)

หมอสันต์เริ่มยอมรับ “เวชศาสตร์ชลอวัย” ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นมองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องมีสาระในทางวิทยาศาสตร์น้อยมาก เพราะผมมองการดำเนินของโรคสมองเสื่อมว่าโรคนี้เป็นตัวชี้วัดว่า “เวชศาสตร์ชลอวัย” เป็นเรื่องจริงหรือเป็นแค่เรื่องวิทยาศาสตร์เทียมเพื่อหาทางขายวิตามินและอาหารเสริมในราคาแพงๆให้ชาวบ้าน เพราะสำหรับผมตราบใดที่วงการแพทย์ยังไม่มีปัญญาชลอหรือรักษาโรคสมองเสื่อมได้ ตราบนั้นก็อย่ามาพูดให้ยากเลยว่าความชราของคนเรานี้มันจะชลอได้ เมื่อประมาณห้าปีก่อน ผมได้เห็นรายงานทางการแพทย์ชิ้นเล็กชิ้นหนึ่งเสนอโดยหมอด้านประสาทวิทยาที่มหาลัยยูซีแอลเอ. แคลิฟอร์เนีย ชื่อดร.เบรเดเซน (D E Bredesen) เนื้อหาสาระมีอยู่ว่าเขารายงานผลการรักษาคนไข้สมองเสื่อมของเขาสิบคนว่าได้ผลดีมาก ตอนนั้นผมไม่ได้สนใจ เพราะแค่นี้มันเป็นหลักฐานระดับ “เรื่องเล่า” ซึ่งมีโผล่มาให้เห็นแทบทุกวันแล้วก็ดับหายไป

อ่านต่อ
Latest, ปรึกษาหมอ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

คุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ฉายภาพชีวิตใน “ห้องรวม”

(สคริปต์ วิดิโอ) (1) น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ (ลดเกิน 5% ในหนึ่งปี)(2) ขาดพลัง หมดเรี่ยวแรง จากเดิมพลังงานเต็มสิบ ลดลงเหลือน้อยกว่าสาม(3) มีกิจกรรมน้อยลง(4) เชื่องช้าลง เดินห้าเมตร ใช้เวลานานเกินห้าวินาที(5) กล้ามเนื้อหมดแรง หยิบอะไรก็หล่น มือบีบอะไรไม่ลง แรงบีบมือลดเหลือต่ำกว่า 20%

อ่านต่อ
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

หมอสันต์ให้สัมภาษณ์สื่อเรื่องหลักประกันการเจ็บป่วยวัยเกษียณ

(ดอกหงอนนาค ที่ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งผมเพิ่งแวะไปเที่ยวโดยเปลี่ยนเส้นทางขับรถจากมวกเหล็กกลับบ้านกรุงเทพฯ คือแทนที่จะกลับทางสระบุรีก็ขับอ้อมเขาใหญ่ไปทางกบินทร์บุรี       จากนี้ไปผมจำเป็นต้องแปะภาพนำทุกบทความ เนื่องจากแฟนที่อ่านทางเฟซบุ้คบ่นว่าป้ายหัวเรื่องที่ไม่มีรูปภาพจะมีปื้นดำอันน่าเกลียดของเฟซบุ้คปิดทับไว้ ผมจึงแก้โดยแปะภาพไว้กับทุกบทความ เกี่ยวไม่เกี่ยวกับเนื้อหาในบทความก็ขอแปะไว้ก่อน)  ………………………………………      เมื่อวันสองวันมานี้มีสื่อมาขอสัมภาษณ์บันทึกเทปที่มวกเหล็ก เนื้อหาอาจจะมีประโยชน์สำหรับแฟนบล็อกที่เป็นผู้เกษียณ ผมตัดเอามาลงให้อ่าน ผู้สัมภาษณ์  

อ่านต่อ
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ยาลดการหลั่งกรด (PPI) สัมพันธ์กับการเป็นเบาหวานมากขึ้น

วันนี้ชั้นเรียน SR เป็นชั่วโมงวาดภาพสีน้ำและปั้นดินเหนียวเสียค่อนวัน ผมจึงมีเวลามาขลุกอยู่ในเล้าไก่หรือโรงเก็บเครื่องมือ (shed) ถือโอกาสถ่ายรูปดอกไม้ที่ข้างโรงเก็บเครื่องมือมาให้ดูเล่น และตอบจดหมายนี้จากเล้าไก่  อนึ่ง..โปรดสังเกตตู้ไปรษณีย์เหล็กดึกดำบรรพ์จากอังกฤษ (ของปลอม) เรียนคุณหมอสันต์ ดิฉันอายุ 62 ปี เป็นคนผอม หนัก 42 กก. สูง 156 ซม.

อ่านต่อ
จิตวิญญาณ (Spirituality)

พยายามวางความคิด แต่ไม่สำเร็จ

อจ.คะ ช่วงนี้กลับมามีความคิดแบบวกวน เครียดไม่รู้สาเหตุ กลัวตัวเองจะเป็นโรคนู่นนี่ (สงสัยรู้เยอะไปหน่อย) พยายามกลับมาดูความคิดตัวเอง แต่พอดูทีไร โดนลากไปกับมันทุกที เหม่อ ทำงานไม่effectiveเลยค่ะ พอมีความรู้สึกว่าไม่อยากคิดวกวน ไม่อยากเครียด มันก็อยากจะร้องไห้ เหมือนหนีไม่พ้น555 อ่านของ อจ มาตลอด และกำลังพยายามทำ อยากทราบว่าเวลารู้ว่าคิดหรือเครียด เราก็แค่รู้ว่ามันมานะ

อ่านต่อ
โรคหัวใจ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

วงการแพทย์เปลี่ยนมาตรฐานโรคความดันเลือดสูงครั้งใหญ่อีกแล้ว (2020)

     เพิ่งหมาดๆไปสองสามปีมานี้เองที่ผมเคยเขียนในบล็อกนี้ว่าวงการแพทย์เปลี่ยนนิยามโรคความดันเลือดสูงครั้งใหญ่ (http://visitdrsant.blogspot.com/2017/11/blog-post_94.html) ซึ่งนั่นคือคำแนะนำการรักษาโรคความดันเลือดสูงซึ่งสมาคมหัวใจอเมริกันและวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน (AHA/ACC 2017)ออกมาแทนมาตรฐานเดิม (JNC7) ตอนนั้นผมบ่นไว้ในบล็อกนี้ด้วยว่าการเปลี่ยนสะเป๊คครั้งนั้นจะทำให้คนจำนวนมากที่ความดันอยู่ระหว่าง 130/80 ถึง 139/89 ซึ่งแต่ก่อนถือว่าเป็นคนปกติ ถูกวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคความดันเลือดสูงและกลายมาเป็นลูกค้าของวงการแพทย์ทันที ผลเสียก็คือจะนำไปสู่การใช้ยาเพิ่มขึ้น และผมยังติงไว้ว่าหลักฐานใหม่ๆบางชิ้นมีความสำคัญมากในแง่ที่จะช่วยลดความดันเลือดลงโดยไม่ต้องใช้ยา แต่คำแนะนำนี้กลับไม่ได้พูดถึงเลย เช่น     

อ่านต่อ
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

Ep3: โรคความดันเลือดสูง (vdo หมอสันต์ชุดรักษาโรคด้วยตัวเอง)

https://www.youtube.com/watch?v=zrukLuJhwqs สวัสดีครับ ผม สันต์ ใจยอดศิลป์ นะครับ เทปนี้เป็น episode ที่ 3 ในชุดรักษาโรคด้วยตัวเอง ครั้งนี้เราจะคุยกันถึงเรื่องการรักษาโรคความดันเลือดสูง ท่านอาจจะเคยเข้าใจว่าโรคความดันเลือดสูงต้องให้หมอรักษาให้เท่านั้น นั่นเป็นความเข้าใจผิดนะครับ 90% ของโรคเป็นส่วนที่ตัวผู้ป่วยเป็นผู้รักษาเพราะโรคความดันเลือดสูงเกิดจากอาหารและการใช้ชีวิตการจะแก้ต้นเหตุต้องแก้ที่อาหารและการใช้ชีวิต ส่วนที่หมอจะเป็นผู้รักษาให้นั้นเป็นเพียง 10% ของโรค ซึ่งเป็นส่วนการใช้ยาแก้ปลายเหตุและการรักษาภาวะแทรกซ้อน เพราะว่าในปัจจุบันนี้เราไม่มียาอะไรที่จะไปรักษาให้โรคความดันเลือดสูงหายได้

อ่านต่อ